เซอร์กิตเบรกเกอร์

(Circuit Breaker) อุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติในระบบ เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสายไฟ หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อมีการตัดวงจรแล้วสามารถสับสวิตซ์เพื่อใช้งานต่อได้ทันที หากแบ่งตามพิกัดแรงดันไฟฟ้าจะแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ Low Voltage, Medium Voltage และ High Voltage

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ(Low Voltage Circuit Breakers) นิยมติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิทและตู้โหลดเซ็นเตอร์ โดยในบ้านพักอาศัยจะใช้ประเภทMCBมากที่สุด

MCB (Miniature Circuit Breakers) หรือเบรกเกอร์ลูกย่อย มีขนาดเล็ก ใช้ในบ้านพักอาศัยที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน100A ขนาดที่ใช้มีแบบ 1,2,3,4 Poleใช้ได้ทั้งกระแสไฟฟ้าแบบ1 และ 3เฟส

MCCB (Moulded Case Circuit Breakers) คือเบรกเกอร์ที่ใช้ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีไฟรั่วหรือลัดวงจร ใช้กับกระแสไฟตั้งแต่100-2,300A แรงดันไม่เกิน1,000โวลต์

ACB (Air Circuit Breakers) เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในหมวด Low Voltage ทนกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง6,300A สามารถเพิ่มอุปกรณ์เสริมต่างๆเข้าไปได้ตามความต้องการ นิยมใช้งานเป็นเมนเบรกเกอร์ในโรงงาน

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง ( Medium Voltage Circuit Breakers ) ใช้ในอาคารหรือใช้เป็นชิ้นส่วนติดตั้งภายนอกในสถานีย่อย เช่น แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ (ACB)  แต่ปัจจุบันหันมาใช้เบรคเกอร์สูญญากาศแทน มีแรงดันไฟฟ้าประมาณ 40.5 กิโลโวลต์ ทำงานโดยมีรีเลย์ตรวจจับกระแสไฟฟ้าที่ทำงานผ่านหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า เบรกเกอร์ชนิดนี้มักใช้เซ็นเซอร์กระแสสลับและรีเลย์ป้องกันแทนการใช้เซ็นเซอร์วัดความร้อนหรือแม่เหล็ก

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง ( High Voltage Circuit Breakers ) การทำงานเซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันสูงจะคล้ายกับชนิดแรงต่ำ แต่ส่วนที่แตกต่างกันในอุปกรณ์สั่งตัดตอนเท่านั้น ในระบบแรงดันไฟสูง เซอร์กิตเบรคเกอร์จะรับสัญญาณ Overload Current หรือ Short Circuit Current จากอุปกรณ์ตรวจจับภายนอก แล้วสั่งให้ Shunt Trip ตัดออกจากการจ่ายไฟ



ผู้เขียน : จิรัชญา มูลงาม

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ



ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น