วงจรไฟฟ้า

รู้จักวงจรไฟฟ้ากัน คุยกับช่างรู้เรื่อง
เราอยู่กับไฟฟ้าเกือบ 24 ชั่วโมงตั้งแต่ตื่นจนเราหลับ เราจึงต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านไฟฟ้า หากเกิดปัญหาขึ้น เราจะสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ อย่างน้อยก็เข้าใจการต่อหลอดไฟภายในบ้านของตนเอง
เรามาดูกันว่าวงจรไฟฟ้ามีแบบไหนบ้าง

วงจรอนุกรม

เป็นการต่อวงจรแบบเรียงกันไปเรื่อยๆดังภาพ การต่อวงจรแบบอนุกรมเมื่อเปิดสวิตซ์ หลอดไฟจะติดพร้อมกันทุกดวง หากเป็นโหลดชนิดเดียวกัน(ในที่นี้ให้โหลดคือหลอดไฟ)กระแสที่ผ่านหลอดไฟทุกหลอดจะมีค่ากระแสเท่ากันและเท่ากับกระแสรวม แต่แรงดันที่ตกคร่อมหลอดไฟแต่ละดวงจะมีค่าลดลงจากแรงดันแหล่งจ่าย นั่นคือแรงดันของแหล่งจ่ายจะมีค่าเท่ากับแรงดันตกคร่อมหลอดไฟแต่ละดวงมารวมกัน ดังนั้นหากต่ออนุกรมกันเยอะๆจะทาให้แรงดันตกคร่อมหลอดน้อยเกินไปจะทาให้หลอดไฟสว่างน้อยกว่าพิกัด และข้อเสียของการต่อแบบอนุกรมคือ หากมีหลอดไฟหลอดใดหลอดหนึ่งเสีย หลอดอื่นๆก็จะไม่ติดไปด้วย เนื่องจากการต่อแบบนี้มีการไหลของกระแสทางเดียว

วงจรขนาน

เป็นการต่อวงจรแบบคร่อมกันไปเรื่อยๆ ต้นขั้วต่อกับต้นขั้ว ปลายขั้วต่อกับปลายขั้วดังรูป การต่อแบบขนานเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง การต่อวงจรแบบขนานสามารถเปิด-ปิดหลอดไฟได้ทีละดวง และหากหลอดใดหลอดหนึ่งเสียหลอดที่เหลือยังคงทางานได้ปกติ อีกทั้งแรงดันตกคร่อมหลอดไฟแต่ละดวงจะมีค่าเท่ากับแรงดันของแหล่งจ่ายดังนั้นไม่ว่าจะต่อขนานอีกกี่หลอดแรงดันทุกๆหลอดยังคงเท่ากัน


วงจรแบบผสม

เป็นการต่อวงจรแบบอนุกรมและแบบขนานมารวมกัน โดยทั่วไปแล้วอาจไม่นิยมใช้กันตามบ้านเรือนเพราะเกิดความยุ่งยากในการต่อและการใช้งาน แต่จะถูกนาไปใช้ในทางวงจรอิเล็กทรอนิกส์
เห็นไหมว่าวงจรไฟฟ้าไม่ได้ยากกว่าที่คิด เพียงแค่นี้คุณก็คุยกับช่างรู้เรื่องแล้ว แต่อย่าลืมว่าการซ่อมแซมและต่อเติมวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน ต้องอยู่ในการดูแลหรือได้รับคาปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

ผู้เขียน : ศุภชัย คงมณี

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น