ไฟรั่ว ไฟดูด ไฟช็อต ต่างกันอย่างไรและควรป้องกันอย่างไร

ไฟรั่ว ไฟดูด ไฟช็อต ต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์ในการป้องกันอุบัติเหตุ ที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง เพราะเหตุการณ์เหล่านี้ ถือว่าเป็นภัยใกล้ตัวที่ควรระมัดระวังเป็นอย่างสูง เนื่องจากไฟฟ้าเป็นสิ่งใกล้ตัว และสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อย่างที่รู้กันดีว่า ระบบไฟฟ้านั้น มักจะถูกติดตั้งไว้ภายในครัวเรือน หากใช้ในระยะเวลานาน ย่อมมีการเสื่อมสภาพตามระยะเวลาของมัน ดังนั้น วันนี้เราจึงมาอธิบายรายละเอียดของอุบัติเหตุจากไฟฟ้าแต่ละแบบ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ และวิธีป้องกันอันตรายจากมัน ไม่ให้เกิดขึ้นภายในครัวเรือนของเรา ไปดูกันเลย

วิธีช่วยเหลือคนถูกไฟช็อต อุบัติเหตุอันตราย ระวังไว้ในหน้าฝน

ไฟรั่ว ไฟดูด ไฟช็อต มีความแตกต่างกันอย่างไร และจะสามารถตรวจสอบได้อย่างไรบ้าง

  1. ไฟรั่ว 

เป็นเหตุการณ์ตรงตามชื่อของมัน จะเกิดขึ้นเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกจากระบบหรือวงจรไปสู่บริเวณภายนอก หากสายไฟเกิดการชำรุด ก็จะรั่วไหลออกบริเวณเหล่านั้น หรือรั่วไหลออกบริเวณส่วนโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้า หากสัมผัสเข้า ก็อาจส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้น การป้องกันเบื้องต้น จะต้องหมั่นตรวจเช็คสายไฟอย่างสม่ำเสมอ ว่ามีการชำรุดหรือไม่

  1. ไฟดูด

เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ร่างกายของมนุษย์ สัมผัสเข้ากับบริเวณที่มีจุดไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้น กระแสไฟฟ้าเหล่านั้น จะสิ่งเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทันที และไหลผ่านลงสู่พื้นดิน เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะส่งผลให้ร่างกายของมนุษย์เกิดการเกร็ง ส่งผลต่อระบบหัวใจ อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หากตรวจสอบแล้วว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนใดมีการชำรุด หรือเกิดเหตุการณ์ไฟดูดขึ้น สิ่งที่ควรทำ คือตัดระบบไฟฟ้าทันที ปิดเมนสวิตช์ และนำผู้ได้รับบาดเจ็บ ส่งโรงพยาบาลให้ไวที่สุด

  1. ไฟช็อต

เป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดประกายไฟ และลุกลามเป็นเหตุการณ์ไฟไหม้ได้ เนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้าลัดวงจร จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ มีการโอนกระแสไฟฟ้าไปยังเส้นอื่นๆ โดยที่ไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการโหลด จนทำให้เกิดความร้อนสะสม เมื่อความร้อนเริ่มสูงขึ้น จะทำให้ฉนวนของสายไฟชำรุด และเกิดประกายไฟขึ้นในที่สุด

ไฟรั่ว ไฟดูด ไฟช็อต ควรป้องกันอย่างไร วิธีป้องกันอุบัติเหตุจากระบบไฟฟ้าง่ายๆ สามารถทำได้ ดังนี้

  1. ติดตั้งระบบไฟฟ้าที่มีสายดิน เนื่องจากว่าสายดิน เป็นอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นกับไฟฟ้าได้ 
  2. ตรวจเช็คมิเตอร์ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ โดยการปิดการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดไม่ให้เหลือ และทำการตรวจสอบว่ามิเตอร์ยังคงหมุนอยู่ด้วยไม่
  3. ตรวจเช็คไฟฟ้าโดยใช้ไขควงวัดไฟฟ้า นำไขควงวัดไฟฟ้า ไปแตะที่เครื่องใช้ไฟฟ้า หากมีไฟสว่างขึ้น นั่นหมายความว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น เกิดไฟรั่ว ให้ทำการหยุดใช้งานโดยทันที
  4. หมั่นตรวจเช็คสายไฟว่ามีการชำรุดหรือไม่ หากพบว่าชำรุดให้ทำการเปลี่ยนใหม่โดยทันที และควรทำอย่างยิ่งกับสายไฟฟ้าที่ติดตั้งบนฝ้าเพดาน หรือฝังในผนัง
  5. หมั่นตรวจเช็คเต้ารับไฟฟ้า ว่ามีรอยไหม้ หรือเมื่อใช้งานร่วมกับปลั๊กไฟแล้ว มีอาการหลวมหรือไม่

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน ขวัญหทัย ลิ้มประเสริฐ

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น