10 อุปกรณ์คู่กายของช่างไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีติดตัว

10 อุปกรณ์คู่กายของช่างไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีติดตัว

แม้ว่าไฟฟ้าจะเป็นพลังงานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและขับเคลื่อนสังคม แต่ใช่ว่าจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถทำงานด้านไฟฟ้าได้ เนื่องจากต้องอาศัยองค์ความรู้เฉพาะทาง เพราะถือเป็นงานที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าได้ ดังนั้น ช่างไฟฟ้าจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายด้าน  ณ หน้างานไฟฟ้า ทั้งชุดที่สวมใส่ อุปกรณ์เครื่องมือ และร่างกายของตัวช่าง 

ในบทความนี้จะขอมุ่งเน้นไปที่ประเด็นของอุปกรณ์เครื่องมือช่างต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานด้านไฟฟ้าของช่างไฟฟ้า ทั้งนี้ผู้เขียนได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับ กล่าวคือ เป็นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องมือช่างไฟฟ้าและวิธีการใช้งานที่อาจช่วยให้ผู้อ่านสามารถนำความรู้จากบทความนี้ไปแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับงานไฟฟ้า ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกใช้ช่างไฟฟ้าได้ หรือในกรณีที่จำเป็นจะต้องให้ความช่วยเหลือสมทบแก่ช่างไฟฟ้า

สำหรับอุปกรณ์เครื่องมือช่างไฟฟ้าที่จำเป็นและข้อแนะนำการใช้งานมีดังนี้

  1. คีม: เป็นอุปกรณ์ที่พบเห็นได้ทั่วไปใช้ในการคีบจับ ดัดงอ ตัด และปอกสายไฟ ซึ่งในส่วนที่เป็นด้ามของคีมจะมีการห่อหุ้มฉนวนไว้อยู่ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการไหลของกระแสไฟฟ้ามาสู่ผู้ใช้ และสำหรับคีมที่ใช้ในงานเดินสายไฟจะมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ 1.) คีมปากจระเข้ 2.) คีมปากจิ้งจก 3.) คีมปอกสาย และ 4.) คีมย้ำหัว
  • ไม่ควรใช้เพื่อขันสกรูหรือเกลียว เพราะนั่นจะทำให้ปากคีมเกิดความเสียหาย
  • ไม่ควรนำคีมมาใช้งานหากมีการชำรุดของฉนวน ควรมีการตรวจเช็คฉนวนของคีมก่อนใช้งานทุกครั้ง
  1. ค้อน: สำหรับงานไฟฟ้าค้อนจะถูกใช้เพื่อตอกตะปูในการเดินสายไฟ และใช้เฉพาะกับค้อนหงอนเท่านั้น
  • ห้ามใช้งานค้อนที่ชำรุด
  • ไม่ใช้ค้อนงัดตะปูจนเกินกำลังอาจทำให้หักได้
  • เลือกขนาดและน้ำหนักให้เหมาะสมกับผู้ใช้
  1. สว่าน: ในงานเดินสายไฟจำเป็นต้องมีการเจาะรูตามพื้นผิวหรือผนังเพื่อใส่สกรูหรือตะปูเพื่อยึดจุดอุปกรณ์ไฟฟ้า มีทั้งสว่านมือและสว่านไฟฟ้าต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมตามพื้นผิวงาน
  • หากทำการเจาะรูไม้ ในขณะที่เจาะก่อนจะทะลุ ควรกลับด้านไม้แล้วเจาะต่อ เพื่อป้องกันไม้แตก
  • ควรใช้ดอกสว่านขนาดเล็กเจาะนำร่องก่อน หากต้องการเจาะรูขนาดใหญ่
  • ก่อนทำการเจาะควรวางดอกสว่านให้ตั้งฉากกับเนื้องาน
  1. ไขควง และไขควงเช็กไฟ: ใช้สำหรับการใส่สวิตช์ ติดตั้งฟิวส์ ขันสกรู หรือถอนตะปูเกลียวจากที่ยึด

และไขควงเช็กไฟใช้สำหรับเพื่อตรวจสอบการมีอยู่ของกระแสไฟฟ้า

  • ใช้ไขควงที่มีปากให้ตรงกับลักษณะของหัวสกรู
  • ใช้ไขควงที่มีฉนวนหุ้มด้ามในงานไฟฟ้า
  1. มีด: ใช้ในงานปอก ขูด  ตัด และทำความสะอาดสายไฟ หรือปอกฉนวน
  • ใช้มีดปอกสายไฟในลักษณะเดียวกับการเหลาดินสอ กล่าวคือ ให้ทำมุม 45 องศากับสายไฟ
  • ไม่กดใบมีดลึกจนเกินไป เพราะเสี่ยงต่อการเสียหายของลวดทองแดงด้านในสายไฟ
  1. หัวแร้ง: เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อการเชื่อมประสาน หรือที่เรียกว่า “บัดกรี” มีทั้งหัวแร้งเผาถ่านและหัวแร้งไฟฟ้า ซึ่งสำหรับงานเดินสายไฟควรใช้หัวแร้งไฟฟ้า
  • ไม่ควรใช้หัวแร้งจนร้อนเกินไป
  • ทำการจุ่มน้ำกรดที่เจือจางแล้วทุกครั้งหลังใช้งาน
  1. เต้าตีเส้น: ใช้เพื่อทำการตีเส้นแนวนอนเพื่อวางแนวเดินในงานเดินสายไฟ
  • ก่อนใช้งานจำเป็นต้องเทผงสีใส่แล้วเขย่าทุกครั้ง (อาจะมีการเติมน้ำเล็กน้อย)
  1. เครื่องมือวัดระยะ: เป็นเครื่องมือวัดระยะและขนาดของชิ้นงานต่าง ๆ ได้แก่ ตลับเมตร และเครื่องวัดไฟฟ้าอย่างมัลติมิเตอร์ที่สามารถวัดค่าต่าง ๆ ทางไฟฟ้าได้
  • เลือกใช้วัดค่าให้ถูกรูปแบบงานแต่ละค่านั้นมีหน่วยที่ต่างกัน
  • หลีกเลี่ยงการทำตกหล่นหรือกระทบกระเทือนบ่อย อาจทำให้ชำรุด
  1. สิ่ว: ใช้กับงานไม้เพื่อเซาะร่องและให้สายไฟลอดผ่าน
  • ลับสิ่วให้คมอยู่เสมอ
  • ก่อนใช้งานตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีตะปูมาขวางที่ไม้
  • เปลี่ยนหัวสิ่วทันทีเมื่อพบว่าบิ่น หัก หรืองอ
  1. เลื่อยมือ: สำหรับงานไฟฟ้าจะใช้เป็นเลื่อย มีด้ามเป็นหลักหนา และมีฟันละเอียอด
  • ไม่ควรให้ใบเลื่อยเปียก ควรเก็บไว้ที่แห้ง
  • หลีกเลี่ยงการวางไว้บริเวณที่โดนแดดร้อนจัด

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน ธีรรินทร์ เกิดอยู่

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น