ผลกระทบจากขยะอิเล็กทรอนิกส์

ผลกระทบจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ 

E-Waste (ขยะอิเล็กทรอนิกส์) คือ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายตามกระบวนทางธรรมชาติ เช่น โทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เป็นต้น ซึ่งไม่มีการใช้งานและปล่อยทิ้งสู่พื้นที่ภายนอกอย่างไม่ถูกต้องตามวิธีการ เช่น การทิ้งร่วมกับขยะทั่วไปการทิ้งในพื้นที่สาธารณะ หรือการทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ (Methylated Mercury) เป็นต้น ดังนั้น ควรมีการแยกประเภทก่อนการทิ้งทุกครั้ง หรือการส่งมอบให้ผู้ที่สามารถกำจัดขยะดังกล่าวอย่างถูกต้องตามวิธีการ

ส่วนประกอบ / สารเคมีจากขยะอิเล็กทรอนิกส์

  1. ตะกั่ว สามารถพบในบริเวณแผงควบคุม หลอดภาพรังสีแคโทด แบตเตอรี่
  2. แคดเมียม สามารถพบในบริเวณตัวต้านทาน แผงควบคุม หลอดภาพรังสีแคโทดจอภาพ
  3. ปรอท สามารถพบในบริเวณตัวตัดความร้อน จอภาพ สวิตช์ 
  4. โครเนียมเฮกซาวาแลนท์ สามารถพบในบริเวณแผ่นโลหะเคลือบด้วยสังกะสี
  5. เบริลเลียม สามารถพบในบริเวณแผงควบคุม แผงวงจร
  6. สารหนู สามารถพบในบริเวณแผงควบคุม แผงวงจร
  7. แบเรียม สามารถพบในบริเวณหลอดภาพรังสีแคโทด
  8. โบรมีน สามารถพบในบริเวณแผงควบคุม แผงวงจร กล่องบรรจุ
  9. ทองแดง
  10. ทองคำขาว

ผลกระทบ

  1. การรั่วไหลของโลหะหนัก หรือสารเคมีจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ อาจส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น การแพร่กระจายของสารเคมีลงสู่แหล่งน้ำ , การสัมผัสสารเคมีโดยตรง , การสูดดมสารเคมีดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายจากการเผาไหม้ขยะดังกล่าว อีกทั้งส่งผลต่อการเกิดภาวะก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน
  2. การรั่วไหลของโลหะหนัก หรือสารเคมีจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย เช่น ไขสันหลัง ระบบประสาทส่วนกลางและการทำงานของสมอง ระบบไหลเวียนเลือด ระบบต่อมไร้ท่อ ต่อมไทรอยด์ ระบบการหายใจ ระบบการย่อยอาหาร กล้ามเนื้อหรืออวัยวะภายใน คือ ไต , ตับ , ม้าม , ปอด , หัวใจ เป็นต้น อีกทั้งส่งผลต่อพันธุกรรมและการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  3. การรั่วไหลของโลหะหนัก หรือสารเคมีจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ อาจส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคต่างๆ หรืออาการไม่พึงประสงค์ เช่น โรคผิวหนัง โรคมะเร็ง ปวดหัว อาเจียน ท้องเสีย

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน เกตน์สิรี รัตนแก้วมณี

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น