Electrodynamometer คืออะไร?

Electrodynamometer (อิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์ หรือ อิเล็กทรอไดนาโมมิเตอร์)  

เป็นหลักการทำงานในการวัดค่าของวัตต์มิเตอร์ หรือ รวมโวลต์มิเตอร์ และแอมป์มิเตอร์ ไว้ในตัวเดียวกัน โดยใช้หลักการของเจนเนอร์เรเตอร์ หรือ ตัวผลิตกำลังงานไฟฟ้า ปกติ Moving Coil ที่ใช้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง แต่อิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์จะใช้ได้ทั้งกระแสตรงและกระแสสสับ หมายความว่า เป็นแกนเหล็กอ่อนทั้ง 2 ตัว สามารถเปลี่ยนขั้วไฟฟ้าได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าเป็นกระแสที่ไหลเข้า หรือไหลออก โดยเราจะใช้กฎของการไหล คือ กฎมือขวา ถ้ากระแสไหลเข้าจะทำให้เกิดขั้วแม่เหล็ก S กับ N แล้วตัว Moving Coil ที่อยู่ตรงกลาง จะมีลักษณะของขั้วแม่เหล็ก N กับ S  ซึ่งเมื่อเป็นขั้วเดียวกันจะทำให้แม่เหล็กผลักกันออก จึงทำให้เข็มมิเตอร์บ่ายเบนในกรณีที่มีกระแสไหลเข้า ถ้าอีกฝั่งหนึ่งเป็น AC กระแสจะไหลออก จะทำให้ขั้วแม่เหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลง 

อิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์ สามารถใช้วัดกำลังไฟฟ้าจริง (P) กำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ (Q) และตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power Factor) ได้ ประกอบไปด้วย ขดลวดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า 2 ชุด คือ ขดลวดคงที่ (Fixed Coils) และขดลวดเคลื่อนที่ (Moving Coils) ในการวัดกำลังไฟฟ้าจริง (P) ขดลวดคงที่ (Fixed Coil) จะต่ออนุกรมกับโหลด เรียกว่า ขดลวดกระแส (Current Coil) ขดลวดเคลื่อนที่ (Moving Coil) จะต่อกับตัวต้านทานขนาดใหญ่ เพื่อใช้วัดแรงดันคร่อมโหลด เรียกว่า ขดลวดแรงดัน (Voltage Coil) 

ลักษณะของเครื่องวัดแบบอิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์ เป็นสเกลของแอมป์มิเตอร์และโวลต์มิเตอร์จะมีลักษณะกฎกำลังสอง โดยประมาณ ส่วนสเกลของวัตต์มิเตอร์จะมีลักษณะเป็นเชิงเส้น มีต้นทุนในการผลิตสูงกว่า และมีการสูญเสียกำลังสูงกว่าเครื่องวัดแบบ PMMC ใช้วัดค่า rms ของรูปคลื่นกระแสสลับ โดยไม่คำนึงถึงรูปร่างของคลื่น ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ทั้งวงจรกระแสตรงและกระแสสลับ ขณะเดียวกันสนามแม่เหล็กรายรอบจะมีผลกระทบต่อการทำงานของเครื่องวัดแบบนี้ ต้องวางชุดขดลวดภายในส่วนที่ห่อหุ้ม เพื่อป้องกันสนามแม่เหล็กภายนอก

ผู้เขียน :  ชญาภรณ์ ภูงามเงิน

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น