Moving Iron Meter คืออะไร?

เครื่องวัดไฟฟ้ามีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โวลต์มิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ โอห์มมิเตอร์ วัตต์มิเตอร์ ฟรีแควนซี่มิเตอร์ เพาเวอร์แฟคเตอร์มิเตอร์ และกิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์ ซึ่งครั้งนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับหนึ่งในโครงสร้างภายในของแอมป์มิเตอร์ นั่นคือ Moving Iron Meter หรือ เครื่องวัดไฟฟ้าชนิดแผ่นเหล็กเคลื่อนที่ ซึ่งใช้ขดลวดเป็นองค์ประกอบหมุน มีหลักการทำงาน คือ เมื่อกระแสไฟไหลผ่านเข้าไปในขดลวดที่อยู่กับที่ จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น โดยมีความเข้มของสนามแม่เหล็กมากที่สุดอยู่ที่ศูนย์กลางของขดลวด แผ่นเหล็กอ่อนจะถูกดึงดูดเข้าสู่ศูนย์กลางของขดลวด แรงดึงดูดจะแปรไปตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวด  

Moving Iron Meter สามารถใช้ได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ มี 2 แบบ ได้แก่ แบบอาศัยแม่เหล็กดึงดูด (Attraction Type) คือ การทำงานขึ้นอยู่กับการดึงดูดระหว่างอำนาจแม่เหล็กของแผ่นเหล็กอ่อน (Soft Iron) กับอำนาจแม่เหล็กของขดลวดอยู่กับที่ (Stationary Coil) ส่วนหลักการทำงาน เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดสนามแม่เหล็กจะเกิดสนามแม่เหล็กมากที่สุดที่จุดศูนย์กลางของขดลวด ปลายของจานเหล็กรูปไข่จะถูกแรงดึงดูดของสนามแม่เหล็กให้เคลื่อนที่เข้าสู่ศูนย์กลางของขดลวดเข็มชี้ที่ยึดติดกับแกนจะบ่ายเบนไปมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนกระแสไฟฟ้า 

อีกแบบคือ แบบอาศัยแม่เหล็กผลักดัน  (Repulsion Type) การทำงานก็ขึ้นอยู่กับการผลักกันระหว่างแผ่นโลหะที่วางอยู่ใกล้กันในสนามแม่เหล็กเดียวกัน เมื่อมีกระแสไหลผ่านขดลวดอยู่กับที่จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไปเหนี่ยวนำแผ่นโลหะอ่อนทั้งสองที่วางขนานกัน แผ่นโลหะทั้งสองจะมีอำนาจแม่เหล็ก และมีขั้วแม่เหล็กเหมือนกัน เกิดแรงผลักกันทำให้เข็มที่ชี้ยึดติดกับแผ่นโลหะเคลื่อนที่เกิดแรงบิดบ่ายเบนมีทิศทางตรงข้ามกับแรงบิดของสปริงหรือน้ำหนักถ่วง ที่ทำหน้าที่เป็นแรงบิดควบคุมแรงผลักของโลหะทั้งสอง

ผู้เขียน :  ชญาภรณ์ ภูงามเงิน

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น