จป. คืออะไร?

ทำไมบางโรงงานถึงมีอุบัติเหตุ 0 รายต่อเดือน เพราะเขามีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความสามารถในการดูแล ป้องกันอันตราย และเข้มงวดในกฎระเบียบเพื่อความปลอดภัยของทุกคน พวกเขาถูกเรียกว่า เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือ จป. มีหน้าที่คอยดูแล และป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และให้ทุกการปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมายกำหนด

จป. แบ่งเป็นประเภทหลัก ๆ ดังนี้ 

  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหัวหน้างานของสายงานที่ได้รับเลือกเข้าอบรม เพื่อเป็น จป.หัวหน้างาน
  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร เช่นเดียวกับ จป.หัวหน้างาน แต่จะอยู่ในตำแหน่งที่
    สูงกว่าหัวหน้างานขึ้นไปเท่านั้น
  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิค หากสถานประกอบกิจการใดมีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 50 คน นายจ้างต้องส่ง จป.หัวหน้างาน ไปเข้ารับการอบรมเพื่อเป็น จป.เทคนิคเพิ่มเติม
  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคขั้นสูง หากสถานประกอบกิจการใดมีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 100 คน โดย จป.เทคนิคขั้นสูงจะต้องอบรม และต้องสอบผ่านทุกหมวด รวมทั้งต้องจบระดับ ปวส. หรือ อนุปริญญาเป็นขั้นต่ำ ถึงจะผ่านเกณฑ์การเข้าอบรม
  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ สถานประกอบกิจการจะต้องมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป จึงจะต้องมี จป.วิชาชีพอย่างน้อยหนึ่งคน เจ้าหน้าที่ระดับนี้จะต้องจบปริญญาตรีด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย หรือวิทยาศาสตร์ความปลอดภัย ที่สถาบันการศึกษานั้น ๆ ได้รับการรับรองเท่านั้น 

ทุกการทำงานล้วนมีความเสี่ยง และอันตรายที่อาจเกินขึ้นโดยไม่คาดคิด ความปลอดภัยของพนักงานจึงเป็นส่วนสำคัญ เพราะพวกเขาเป็นกำลังที่ผลักดันให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ จึงเป็นหน้าที่ของเหล่า จป. ทั้งหลายที่ต้องช่วยกันสอดส่อง ดูแล ป้องกันอันตราย ไม่ให้เกิดขึ้นแม้เพียงครั้งเดียว และไม่เพียงแค่ จป. เท่านั้น พนักงานทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกัน ดูแลตัวเองเช่นกันในทุกขณะของการทำงาน จะต้องศึกษา และเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อการปฏิบัติงานที่ดำเนินไปอย่างเต็มรูปแบบ และพัฒนาองค์กรต่อไปได้

ผู้เขียน : ธมนณัฏฐ ดวงมณีวิวัตน์

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น