ความต้านทานของร่างกายต่อไฟฟ้า

รู้หรือไม่ว่า..? ร่างกายของมนุษย์สามารถสร้างพลังงานขึ้นมาได้ 

โดยเราอาจจะสังเกตได้จากการที่เมื่อเรานำร่างกายไปสัมผัสเข้ากับสิ่งของที่มีส่วนประกอบของโลหะ เช่น ลูกบิดประตู รั้วบ้าน ประตูรถ หรือแม้แต่การที่เราเดินอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ต แล้วบังเอิญไปชนเข้ากับใครบางคน แล้วเรามีความรู้สึกเหมือนถูกไฟช็อต เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายของเรานั้นสะสมไฟฟ้าสถิตเอาไว้มากเกินไป โดยเมื่อใดก็ตามที่เราบังเอิญไปสัมผัสกับสิ่งอื่น ๆ ที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ด้วยเหมือนกัน ก็จะทำให้เรามีความรู้สึกเหมือนถูกกระตุก 

การกระตุกเกิดจากผลกระทบของการไหลของกระแสไฟฟ้าที่เข้ามาในร่างกายมนุษย์ ถ้าหากแรงดันไฟฟ้าที่ทำงานอยู่ในร่างกายมนุษย์นั้นมีน้อยกว่าไฟฟ้าที่เข้ามาปะทะ ก็จะทำให้มนุษย์ทรุดตัวลงและอาจจะหมดสติได้ แต่ถ้าไฟฟ้านั้นถูกควบคุมให้กระแสวิ่งผ่านร่างกายลงไปยังพื้นดิน ก็จะทำให้ร่างกายของมนุษย์ปลอดภัยจากการถูกไฟฟ้าช็อต หรือ ไฟฟ้าดูดได้ 

ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้ามาในร่างกายของมนุษย์นั้นมีความแรงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ ความต้านทาน ของร่างกาย

ความต้านทาน (Impedance) คือ แรงต้านทานของสิ่งต่าง ๆ ที่มีต่อกระแสไฟฟ้าที่จะไหลผ่านเข้าสู่สิ่ง ๆ นั้น ซึ่งกระแสไฟฟ้าจะมีแรงที่มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของความต้านทานรวมของสิ่ง ๆ นั้น โดยความต้านทานรวมเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยความต้านทานรวมนั้น มีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท ดังนี้ 1. ความต้านทานของตัวนำไฟฟ้า 2. ความต้านทานของร่างกาย และ 3. ความต้านทานของดิน 

ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าไหลลงสู่ดิน ความต้านทานของร่างกายของคนเราจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับ 3 คุณสมบัติ ดังนี้ 1. คุณสมบัติทางกายภาพของแต่ละคน 2. สภาวะทางอารมณ์ และ 3. ความชื้นบนผิวหนัง โดยความต้านทานของร่างกายของคนเราจะลดลงเป็นอย่างมาก หากผิวหนังของเรามีความเปียกชื้น

ในส่วนของความต้านทานของร่างกายต่อไฟฟ้า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอันตรายขึ้นต่อร่างกายของมนุษย์ นั่นก็คือ ผิวหนัง ซึ่งผิวหนังนั้นเป็นตัวควบคุมปริมาณของกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านเข้ามาในร่างกายได้มากหรือน้อย โดยจากการศึกษาและวิจัยนั้น พบว่า

  • ผิวหนังแห้ง จะมีความต้านทาน 100,000 – 600,000 โอห์มต่อตารางเซนติเมตร
  • ผิวหนังเปียก จะมีความต้านทาน 1,000 โอห์มต่อตารางเซนติเมตร
  • ความต้านทานภายในร่างกายจากมือถึงเท้า (ไม่มีผิวหนัง) 400 – 600 โอห์มต่อตารางเซนติเมตร
  • ความต้านทานระหว่างช่องหู ประมาณ 100 โอห์มต่อตารางเซนติเมตร

โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายของคนเรานั้นจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้ โดยเฉลี่ย 100 วัตต์ ใน 1 วัน ในกรณีของคนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง อย่างเช่น นักกีฬา จะสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าในร่างกายได้สูงสุดถึง 300 – 400 วัตต์ ซึ่งอาจจะสูงหรือต่ำกว่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพร่างกายของแต่ละบุคคล กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในร่างกายของมนุษย์นั้น เกิดจากพลังงานความร้อนในร่างกายที่เราได้รับมาจากการรับประทานอาหาร ยิ่งเราทานอาหารและร่างกายเกิดการเผาผลาญมากเท่าไร ความร้อนที่เกิดในร่างกาย ก็จะนำไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น