หลักการทำงานของสายดิน

สายดิน หรือสายกราวด์ หมายถึง สายไฟฟ้าที่ปลายด้านหนึ่งต่ออยู่กับขั้วดินของระบบไฟฟ้า( Ground) หรือต่ออยู่กับบริเวณโครงหรือตัวถังของเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนปลายสายไฟอีกด้านที่เหลือ จะต่ออยู่กับหลักดินหรือต่อลงดิน (มาตรฐานของสายไฟที่ใช้ทำสายดินจะเป็นสีเขียวคาดเหลือง)

สายดินมักจะกำหนดเป็นมาตรฐานสากลทั่วโลก โดยจะเป็นสายสีเขียว หรือสายสีเขียวพาดเหลือง โดยมีหลักการทำงานของสายดินดังนี้ ซึ่งสายดินจะทำงานได้โดยสมบูรณ์ เมื่อปลายสายด้านหนึ่งของสายดินต้องมีการต่อลงดินด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าส่วนปลายสายอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับพื้นผิวหรือโครงเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นส่วนที่มีการเข้าถึงและสัมผัสได้โดยผู้ใช้งานหรือบุคคลทั่วไปถ้ามีการติดตั้งสายดินที่โครงเครื่องใช้ไฟฟ้าเอาไว้ หากมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงมาที่โครงเครื่องใช้ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่รั่วออกมานั้น ก็จะเดินทางลงสู่ดินผ่านทางสายดิน ซึ่งเมื่อใดที่เราไปจับโครงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการติดตั้งสายดิน ก็จะไม่ได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้า เพราะไฟฟ้าเลือกที่จะไหลผ่านช่องทางที่สะดวกที่สุดซึ่งนั้นก็คือทางสายดิน แทนการไหลผ่านร่างกายมนุษย์ เนื่องจากเมื่อเทียบกันแล้วสายดินมีความต้านทานต่ำกว่าร่างกายมนุษย์หลายเท่า ไฟฟ้าจึงเลือกเดินทางผ่านสายดินแทนที่จะผ่านร่างกายเรา ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่บ้านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำมาจากโลหะ และสายไฟฟ้าเกิดการขาดหรือได้ชำรุด จนมีลวดทองแดงออกมา เมื่อลวดทองเข้าไปสัมผัสกับโลหะอาจทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นได้ ตัวสายดินที่ต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้า (โดยปกติแล้วไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสายดิน) จะทำหน้าที่ต้านทานแทนตัวของเรา กระแสไฟฟ้าที่รั่วจะทำการไหลผ่านสายดินไปยังตู้ไฟที่ต่อกับนิวตรอน และไหลกลับไปที่หม้อแปลงใหญ่ และทำให้เบรกเกอร์ในทันทีเมื่อพบกระแสไฟฟ้ารั่วหรือว่าได้รับกระแสไฟฟ้ามากจนเกินไป

ผู้เขียน : นาถชนก สารโภค

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น