หลักการทำงานของ ELCB

เบรกเกอร์กันไฟดูด ELCD (Earth-leakage circuit breaker) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับไฟฟ้ารั่ว และทำการตัดไฟเพื่อรักษาชีวิตของผู้ที่มีไฟฟ้าดูด รวมทั้งการป้องกันอันตรายจากไฟรั่วที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินได้ อาทิเช่น เกิดการไฟไหม้เนื่องจากมีปริมาณไฟฟ้ารั่วจำนวนมาก โดยปกติจะติดตั้งที่แผงไฟหลักของบ้านพักอาศัย หรือในส่วนของบ้านที่มีความเสี่ยงของการถูกไฟฟ้าดูดเป็นพิเศษ 

หลักการทำงานของ ELCB ของเครื่องตัดไฟรั่ว หรือ Earth-leakage circuit breaker เป็นการเปรียบเทียบกระแสไฟฟ้าระหว่างสายไฟ 2 สายคือ กระแสไฟที่ไหลผ่านทั้งไปและกลับต้องมีค่าเท่ากัน โดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ขนาด คือ ขนาด 15 mA และ 30 mA ตัวอย่างเช่น พิกัดขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วต้องไม่เกิน 30 mA และตัดไฟได้ภายในระยะเวลา 0.04 วินาที เมื่อมีไฟรั่วขนาด 5 เท่าของพิกัด (=150 mA) หากมีกระแสรั่วออกจากระบบเครื่องจะสามารถตรวจสอบได้ในทันที และทำการปลดวงจรในลำดับต่อมา โดยหน่วยวัดค่ากระแสไฟรั่วจะมีหน่วยเป็น mA 

เมื่อต้องการให้เครื่องตัดไฟรั่วสามารถป้องกันทุกวงจรที่เมนสวิตช์ (ใช้ได้เฉพาะระบบที่มีสายดิน เป็นมาตรการเสริมป้องกันอัคคีภัย และไฟฟ้าดูด) ให้ใช้ขนาดตั้งแต่ 100 mA เป็นต้นไป โดยอาจเป็น 300 mA  หรือ 500 mA ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟรั่วตามธรรมชาติ สำหรับขนาด 30 mA นั้นก็ยังคงใช้ร่วมกันในวงจรย่อยซึ่งอาจใช้หลายตัวก็ได้ และหากมีปัญหาการทำงานพร้อมกันให้เลือกชนิดที่มีการหน่วงเวลา (Type S) สำหรับเครื่องตัดไฟรั่วที่เมนสวิตช์

การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว ควรติดตั้งใช้งานเฉพาะจุด เช่น วงจรเต้ารับในห้องครัว, ห้องน้ำ, ห้องเด็ก ๆ หรือวงจรเต้ารับ/สายไฟที่ต่อไปใช้งานนอกอาคารทั้งชั่วคราวและถาวร

ผู้เขียน : ฐิติรัตน์ ทองคำชุม

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น