ช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ ต่างกัน ?

ช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์มีความแตกต่างในบางด้าน, แม้ว่ามีความเชื่อมโยงกันในด้านการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า. นี่คือความแตกต่างหลัก

1) หลักสูตรการเรียน

  • ช่างไฟฟ้า: เรียนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เช่น การเดินสายไฟฟ้าในบ้าน ติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ การตรวจเช็กระบบไฟฟ้า การวางระบบวงจรไฟฟ้า การแก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับไฟฟ้า การตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์: เรียนเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า รูปแบบวงจร และอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ การบำรุงรักษา การแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์

2) ลักษณะอาชีพ

  • ช่างไฟฟ้า: ใช้ทฤษฎีความรู้หลักการทางไฟฟ้า วิธีทดสอบไฟฟ้า และวิชาการที่เกี่ยวข้องมาผลิต ก่อสร้าง ติดตั้ง ตรวจสอบ ทดสอบ ใช้งาน ดูแล แก้ไข เปลี่ยนแปลง บำรุงรักษา ซ่อมแซม และปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ และส่วนประกอบอื่น ๆ ตรวจหาสาเหตุ และแก้ไขระบบไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าขัดข้องหรือไม่ทำงาน ปฏิบัติงานด้านอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากวิศวกรไฟฟ้า
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์: ใช้ทฤษฎีความรู้หลักการ และกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์มาออกแบบ สร้าง วิเคราะห์ วางแผน บำรุงรักษาเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ปฏิบัติงานอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม เทคนิคคอมพิวเตอร์ เทคนิคระบบสื่อสาร และเครื่องกลอิเล็กทรอนิกส์ ตรวจซ่อมเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ใช้ร่วมกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ ปฏิบัติงานด้านอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์

3) คุณสมบัติ

  • ช่างไฟฟ้า: นอกจากต้องสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงแล้ว ควรต้องมีความคล่องแคล่วในการใช้มือ กระฉับกระเฉง ช่างสังเกต ไม่เป็นตาบอดสี เพราะต้องบอกประเภทการใช้งานสายไฟที่มีสีต่าง ๆ ของฉนวนเป็นตัวกำหนด และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์: นอกจากสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร และมีร่างกายแข็งแรงแล้ว ควรต้องเป็นผู้ที่มีความละเอียดรอบคอบ คล่องแคล่ว ช่างสังเกต ไม่เป็นตาบอดสี มือและสมองทำงานพร้อมกันได้ตลอดเวลา ชอบคิดคำนวณ มีความคิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

4) แหล่งงาน

  • ช่างไฟฟ้า: ส่วนใหญ่ทำงานให้ผู้รับเหมางานด้านไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ องค์กรของรัฐบาลและเอกชน ให้บริการด้านไฟฟ้ากับหน่วยงานของตนเอง ส่วนช่างไฟฟ้าที่ทำงานอิสระ มักจะรับเหมางานเอง แหล่งงานส่วนใหญ่ จึงอยู่ในเขตอุตสาหกรรม และพื้นที่กำลังพัฒนา
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์: เลือกได้ทั้งการรับงานอิสระ รับซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ หรือจะรับราชการ งานรัฐวิสาหกิจ องค์กรของรัฐบาล และเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม ดูแลระบบเครือข่ายสัญญาณ ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารต่าง ๆ

5) โอกาสในการทำงาน

  • ช่างไฟฟ้า: มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าในองค์กร และที่บ้านยังเป็นสิ่งจำเป็นและมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โอกาสของช่างไฟฟ้า จึงสูงตามประสบการณ์ และความชำนาญ สามารถเป็นที่ปรึกษา ผู้ควบคุม ผู้ให้คำแนะนำทางเทคนิคได้ ที่สำคัญช่างไฟฟ้าเปลี่ยนไปทำงานไฟฟ้าด้านอื่นได้ เช่น ช่างซ่อมบำรุงไฟฟ้า ในหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์: มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และยังมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ยิ่งมีประสบการณ์ และความชำนาญมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นที่ต้องการ และในอนาคตความต้องการในการควบคุมระบบที่อัตโนมัติ และมีความแน่นอน จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยควบคุม อย่างระบบการสื่อสารคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

6) รายได้

  • ช่างไฟฟ้า: ช่วงแรกอาจไม่มากนัก แต่เมื่อมีความชำนาญมากขึ้น รายได้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ข้อดี คือ ชั่วโมงการทำงาน และรายได้มีความสม่ำเสมอ และสูงกว่าช่างอื่น ๆ ในสายงานก่อสร้าง
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์: รายได้เพิ่มขึ้นเมื่อความชำนาญมากขึ้นเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า ข้อดี คือ อาจมีการทำงานล่วงเวลา เพราะความจำเป็นที่เร่งด่วน ทำให้โอกาสได้เงินพิเศษมากขึ้น

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน สุรัช เวียงลอ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น