การตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน

หากไม่ได้เป็นบุคคลที่อยู่ในแวดวงการไฟฟ้าต่างๆ คงเข้าใจได้ยาก หรืออาจจะไม่เข้าใจ ไม่เคยได้ยิน เกี่ยวกับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนมาก่อน บทความนี้จะขอนำความรู้เรื่องดังกล่าวมาฝาก 

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน เป็นการใช้กล้องถ่ายที่ใช้สำหรับตรวจสอบระบบไฟฟ้าถ่ายไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น เครื่องจักรต่างๆ หม้อแปลงไฟฟ้า  มอเตอร์ เป็นต้น ซึ่งหากพบว่าอุปกรณ์ใดมีความผิดปกติ บริเวณจุดนั้นจะแสดงจุดความร้อนขึ้นทันที ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ช่วยให้ซ่อมแซมและแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ปัจจุบันหลายโรงงานนิยมนำไปประยุกต์ใช้ตรวจสอบเครื่องจักรขนาดใหญ่ เพราะสามารถมองเห็นความร้อนภายในระบบได้ในระยะไกลอย่างชัดเจน อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบได้ขณะที่กระบวนการผลิตยังดำเนินการอยู่และเมื่อตรวจพบสิ่งผิดปกติแล้วก็ทำให้สามารถวางแผนการบำรุงรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลดความสูญเสียและระยะเวลากระแสไฟฟ้าขัดข้องในกระบวนการผลิตได้ทำให้ระบบไฟฟ้ามีความเชื่อถือได้และมีความมั่นคงสูง โดยในการตรวจสอบจะมีผู้ให้บริการและผู้รับบริการ  ซึ่งผู้ให้บริการต้องทราบปริมาณของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต้องเข้าไปตรววจสอบเพื่อวางแผนก่อนการตรจสอบ ขณะเดียวกันผู้รับบริการก็ต้องทราบปริมาณของอุปกรณ์ที่จะให้ตรวจสอบเช่นกัน พร้อมทั้งทราบตำแหน่งด้วย ทั้งสองฝ่ายควรทำความเข้าใจเงื่อนไขและข้อตกลงกันก่อน

ส่วนขั้นตอนการตรวจสอบระบบไฟฟ้าควรดำเนินการตั้งแต่ระบบไฟฟ้าแรงสูงไปสู่ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและทำให้การทำรายงานมีความต่อเนื่องและในกรณีที่โรงงานหรือบริษัทมีหลายอาคารควรตรวจสอบทีละอาคารเพื่อป้องกันความสับสนในการทำรายงาน ซึ่งอุปกรณ์แต่ละประเภทภายในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลายชนิดโดยมีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันและมีจุดเพื่อการตรวจสอบหาสิ่งผิดปกติที่แตกต่างกันไป 

ยกตัวอย่างเช่น 

  • หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า (PT) และหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า (CT) สำหรับชุด metering ต่างๆ ถ้าเป็นระบบไฟฟ้าแรงดันสูงและปานกลางจะประกอบด้วย PT และ CT แต่ถ้าเป็นระบบแรงดันต่ำจะประกอบด้วย CT ซึ่งสิ่งที่จะต้องตรวจสอบด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนนั้นจะประกอบด้วย จุดต่อและขั้วไฟฟ้าภายนอกต่างๆ และการวัดอุณหภูมิ CT หรือ PT เปรียบเทียบกันระหว่างเฟสว่ามีอุณหภูมิใกล้เคียงกันหรือไม่ ถ้าพบว่าอุณหภูมิ CT หรือ PT ใดมีค่าสูงกว่าประมาณ 10-15°C  ให้สันนิษฐานว่าจะเกิดสิ่งผิดปกติภายในตัว CT หรือ PT
  • เซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นอุปกรณ์ป้องการกระแสเกินเพราะการทำงานมากเกินไปและการลัดวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบต่างๆที่จะต้องตรวจสอบ ได้แก่ จุดต่อและขั้วไฟฟ้าต่างๆ หากพบความร้อนภายในตัวเซอร์กิตเบรกเกอร์เนื่องจากหน้าสัมผัสภายในชำรุด (Bad Contact)
  • สวิตซ์ตัดตอนแรงสูง เป็นอุปกรณ์ปลดและสับขณะวงจรไฟฟ้าไม่มีโหลด โดยต้องตรวจสอบ บริเวณจุดต่อและขั้วไฟฟ้าต่างๆ จุดหมุนที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน สวิตซ์ตัดตอนแรงสูงบางแบบนั้นจะประกอบด้วยฟิวส์แรงสูงซึ่งอาจจะเกิดอุณหภูมิสูงภายในกระบอกฟิวส์เนื่องจากเส้นฟิวส์ภายในเกิดการหลอมละลายทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อเทียบกับฟิวส์ชุดอื่นๆเมื่อทำงานที่สภาพโหลดใกล้เคียงกัน
  • ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันการเกิดลัดวงจรไฟฟ้า ต้องตรวจสอบจุดต่อและขั้วไฟฟ้าต่างๆ การเกิดความร้อนภายในกระบอกฟิวส์เนื่องจากเส้นฟิวส์ภายในเกิดการหลอมละลายทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อเทียบกับฟิวส์ชุดอื่นๆเมื่อทำงานที่สภาพโหลดใกล้เคียงกัน

 ทั้งนี้ทุกอุปกรณ์ตามที่ยกตัวอย่างนั้นต้องตรวจสอบด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน

บริเวณจุดเข้าหัวสายหรือหางปลาต่างๆ (Cable Lug) ด้วยกันทั้งสิ้น 

สำหรับการเกิดความร้อนแบบต่างๆในระบบไฟฟ้าผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าจะสังเกตได้ว่ากล้องถ่ายภาพความร้อนจะตรวจจับความแตกต่างของอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว ซึ่งการตรวจสอบบางครั้งพบว่าอุปกรณ์มีอุณหภูมิต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยอาจจะเกิดจากไม่มีโหลดหรือเครื่องจักรต่างๆไม่ทำงาน บางครั้งอาจจะทำให้ผู้ตรวจสอบสับสนและวิเคราะห์สาเหตุผิดพลาดได้ การเกิดความร้อนสามารถเกิดได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • การสะท้อนจากแหล่งความร้อนต่างๆ
  • การแผ่รังสีอินฟราเรดจากดวงอาทิตย์เมื่อตรวจสอบภายนอกอาคาร
  • การทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและโหลดทางไฟฟ้า
  • ความแตกต่างของค่า Emissivity ของวัสดุหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ตรวจสอบ
  • การเหนี่ยวนำของกระแสไฟฟ้าไหลวน
  • ความต้านทาน (จุดต่อต่างๆ,การกวดขันไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกวิธี)

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากภายนอกอื่นๆอีก เช่น ความชื้นในอากาศสูงเกินไปหรือการตรวจสอบระบบไฟฟ้าขณะฝนหยุดตกได้ไม่นาน ความเร็วของลมบริเวณตรวจสอบ ระยะห่างระหว่างวัตถุที่ตรวจสอบกับตำแหน่งกล้องถ่ายภาพความร้อน และการตรวจสอบระบบไฟฟ้าบริเวณที่มีความเข้มสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสูง ดังนั้นการปรับตั้งพารามิเตอร์และการตรวจสอบในเวลาที่เหมาะสม, บริเวณและตำแหน่งที่เหมาะสมจึงมีผลอย่างยิ่งต่อความถูกต้อง

อย่างไรก็ตามการตรวจสอบที่จะมีประสิทธิภาพสูงสุด คือ การที่ผู้รับบริการมีความรู้เบื้องต้น ผู้ให้บริการเป็นผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีความน่าเชื่อถือและทั้งสองสามารถทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขของการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้อุปกรณ์ไฟฟ้ามีความปลอดภัยสูงสุด

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน ชญาภรณ์  ภูงามเงิน

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น