หลักการทำงาน
ภายในแบตเตอรี่รถยนต์มีการเกิดปฏิกิริยาระหว่างกรดซัลฟิวริกและตะกั่ว มีแรงดันทางไฟฟ้าประมาณ 2 โวลต์ต่อ 1 เซลล์ ซึ่งถูกประจุในภาชนะเก็บประจุไฟฟ้า เพื่อเก็บและปล่อยประจุไฟฟ้าให้ไหลจากขั้วบวกและขั้วลบผ่านไปยังจุดหมายปลายทางให้เกิดขึ้นในลักษณะซ้ำเรื่อยๆ ระหว่างการรับและปล่อยประจุไฟฟ้า โดยการเกิดปฏิกิริยาและเปลี่ยนเป็นตะกั่วซัลเฟต และแปลงกลับเป็นกรดซัลฟิวริกและตะกั่ว ทั้งนี้สามารถแบ่งลักษณะการทำงานเป็น 2 ลักษณะย่อย ได้แก่ 1.การปล่อยกระแสไฟฟ้าน้อยในระยะเวลาสั้นและปริมาณของกระแสไฟฟ้ามาก เหมาะสำหรับการสตาร์ทเครื่องยนต์ และ 2.การปล่อยกระแสไฟฟ้ามากในระยะเวลานานและปริมาณของกระแสไฟฟ้าน้อย เหมาะสำหรับการใช้งานเครื่องเสียงหรือวิทยุภายในรถยนต์ และยังพบการใช้งานในระบบสำรองไฟ ระบบโทรคมนาคม และการขนส่งสาธารณะโดยรถไฟ รถไฟฟ้า
ส่วนประกอบภายใน
- แผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบ
- แผ่นกั้น มีหน้าที่เป็นฉนวนระหว่างแผ่นธาตุบวกและธาตุลบ
- น้ำกรดกำมะถัน สารที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีไฟฟ้าระหว่างแผ่นธาตุบวกและธาตุลบ
ประเภท
- แบตเตอรี่ปฐมภูมิ สามารถผลิตประจุไฟฟ้าให้เกิดขึ้นภายในแบตเตอรี่ แต่ไม่สามารถเติมประจุไฟฟ้าได้เมื่อใช้งานหมด โดยมีส่วนประกอบของคาร์บอน สังกะสี และแมงกานีสไดออกไซด์ ทั้งนี้สามารถพบการใช้งานในถ่ายไฟฉาย หรือถ่านไบออส
- แบตเตอรี่ทุติยภูมิ สามารถผลิตประจุไฟฟ้าให้เกิดขึ้นภายในแบตเตอรี่ และสามารถเติมประจุไฟฟ้าได้เมื่อใช้งานหมด โดยมีส่วนประกอบของนิกเกิลและแคดเมียม ทั้งนี้สามารถพบการใช้งานในแบตเตอรี่รถยนต์ เพื่อใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์และใช้งานไฟส่องสว่างด้านหน้า
- แบตเตอรี่ VRLA สามารถปรับแรงดันภายใน และช่วยลดความเสี่ยงในการรั่วไหลของก๊าซภายใน ซึ่งเป็นอันตรายเมื่อออกสู่ภายนอกของแบตเตอรี่ โดยการติดตั้งแผ่นกระจกดูดซับ(AGM) ไว้ภายใน
วิวัฒนาการ
- Conventional (ยุคเริ่มแรก) ประกอบด้วยโครงแผ่นโลหะผสม ตะกั่ว ดีบุก และแร่พลวง แผ่นธาตุมีความหนาและน้ำหนักมาก แบตเตอรี่เกิดความร้อนได้ง่ายและสูญเสียไอน้ำกรดได้มาก
- Low Maintenance (การบำรุงรักษาน้อย) ลดการใช้แร่พลวงและเลือกใช้งานแผ่นธาตุ Low Antimony Grid แบตเตอรี่เกิดความร้อนและสูญเสียไอน้ำกรดได้น้อยลง อีกทั้งช่วยยืดระยะเวลาในการเติมน้ำกลั่น
- Hybrid ลดการใช้แร่พลวง เลือกใช้งานแผ่นธาตุบวก Low Antimony และแผ่นธาตุลบ Lead Calcium Alloy แบตเตอรี่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้นานขึ้น เกิดความร้อนและสูญเสียไอน้ำกรดได้น้อยลง
- Seal Maintenance Free Battery (SMF) คือ การออกแบบฝาครอบปิดสนิท เลือกใช้งานแผ่นธาตุอัดรีด และประกอบด้วยแคลเซีม ดีบุก แบตเตอรี่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้นานขึ้น เกิดความร้อนและสูญเสียไอน้ำกรดน้อยมาก
HOTLINE-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
ผู้เขียน เกตน์สิรี รัตนแก้วมณี
ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ