สายล่อฟ้า คือ

เราอาจจะเคยคุ้นหูคุ้นตากับภาพยนตร์ไทยสุดคลาสิกเรื่อง สายล่อฟ้า เมื่อหลายปีที่ผ่านมา แต่อีกความหมายหนึ่งของสายล่อฟ้าก็คือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่มักจะเจอในช่วงฤดูฝน หรือที่เราคุ้นหูกันดีในชื่อเรียก ฟ้าผ่า นั่นเอง ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่มนุษย์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถป้องกันอันตรายที่เกิดจากฟ้าผ่าได้ โดยเฉพาะการป้องกันอันตรายที่อาจะเกิดขึ้นกับตัวอาคารบ้านเรือน และระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

สายล่อฟ้าคืออะไร และมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับฟ้าผ่า สายล่อฟ้า คือ ระบบป้องกันฟ้าผ่า ที่ได้รับการออกแบบมา เพื่อป้องกันบ้าน หรืออาคารจากการถูกฟ้าผ่าโดยตรงทั้งๆ ที่สายล่อฟ้าไม่ได้ป้องกันให้ฟ้าผ่า แต่ล่อให้ฟ้าผ่าลงในบริเวณ หรือส่วนที่เราต้องการ และทำให้ผลของฟ้าผ่าผ่านไปเร็วที่สุด กรณีผ่านลงดิน

สายล่อฟ้า มีต้นกำเนิดจากแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า เบนจามิน แฟรงคลิน ด้วยแนวคิดที่จะไล่จับสายฟ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ดูน่ากลัวในความคิดของคนทั่วไป แต่หลักการและแนวคิดของเบนจามิน คิดวิธีจะจับสายล่อฟ้า ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยการนำเหล็กแหลมมาเสียบบรรจุไว้ในภาชนะทรงกลม จากนั้นก็เอาการทดลองดังกล่าวมาพัฒนาเป็นสายล่อฟ้า

จากแนวคิดการทดลองดังกล่าว ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ขึ้นนั่นก็คือ สายล่อฟ้า กระบวนการทำงานจะเริ่มนำสายฟ้าดึงลงมาที่ตัวหลักของสายล่อฟ้าก่อน จากนั้นถ่ายพลังงานสายฟ้าดังกล่าวลงไปในดิน เพื่อลดแรงกระแทก และการทำลายของสายฟ้านั้นไป ปัจจุบันสายล่อฟ้ามี 3 แบบตามแต่วิธีการใช้งาน คือ Franklin,  ESE และ Dissipation array 

ในแต่ละปีโลกเกิดฟ้าผ่ามากกว่า 1 พันล้านครั้ง มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และ สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินต่างๆ หลายครั้งที่ไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ หากพายุมีความรุนแรงมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดประจุไฟฟ้ามีปริมาณมากและเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พลังงานที่ถูกส่งผ่านสายล่อฟ้ามีความเข้มข้นสูง ดังนั้น สายล่อฟ้า คือสิ่งที่จะช่วยลดความเสียหายของอาคารจากเหตุผ่าฟ้าได้มากที่สุด จากการชี้นำให้สายฟ้าไหลลงดินตามเส้นทางที่เรากำหนดด้วยความรวดเร็ว

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน มิ่งสุดา โสมะฐิติ

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น