เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า คือ

เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า หรือ Inverter คือ เครื่องซึ่งมีหน้าที่ในการแปลงไฟฟ้ากระแสตรง เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เช่น ในกรณีแปลงไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซลาเซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านหรือเพื่อเป็นอุปกรณ์สำรองไฟ (Stand by power supply) หากเกิดปัญหา เช่น ไฟตก ไฟดับการใช้ไฟเกินจำนวนหรือป้องกันการเกิดความเสียหายของอุปรณ์จากปัญหาข้างต้น อีกทั้งเพื่อป้องกันการได้รับคลื่นรบกวน

ส่วนประกอบหลัก

  1. ชุด ConverterCircuit มีหน้าที่ในการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรง
  2. ชุด InverterCircuit มีหน้าที่ในการแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ
  3. ชุด ControlCircuit มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของชุดConverter Circuit และ ชุด Inverter Circuit

หลักการทำงาน

ไฟฟ้ากระแสตรงไหลอย่างรวดเร็วผ่านวงจรของหม้อแปลงไฟฟ้าและตัวทรานซิสเตอร์ (Switching transistor) โดยมีลักษณะของกระแสไฟฟ้า 3 รูปแบบ ได้แก่ Square wave , Modified sine wave และ Pure sine wave

ประเภท

  1. ประเภทการใช้งานอย่างอิสระ (Stand-alone inverter) ใช้สำหรับการติดตั้งในพื้นที่ไม่มีไฟฟ้า หรือในพื้นที่ซึ่งต้องใช้ไฟฟ้าสำรอง หรือพื้นที่ซึ่งสามารถติดตั้งเครื่องสำรองไฟ
  2. ประเภท Square wave มีอัตราในการแปลงกระแสไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว 100-120 ครั้ง/วินาที ดังนั้นเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าประเภทนี้ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
  3. ประเภท Pure sine wave มีลักษณะการจ่ายกระแสในลักษณะเส้นโค้ง และการแปลงกระแสไฟฟ้ามีคุณภาพและประสิทธิภาพจากแบตเตอรี่ ดังนั้นจึงสามารถใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเกือบทุกประเภท เช่น ปั๊มสูบน้ำ มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ โดยมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าใน 256 ระดับแรงดัน/รอบ อีกทั้งสามารถใช้งานในลักษณะแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรอง
  4. ประเภท Modified sine wave มีลักษณะการทำงานคล้ายประเภท Pure sine wave มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าใน 4 ระดับแรงดัน/รอบ (Voltage level) ในลักษณะขั้นบันได เหมาะสำหรับใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ไมโครเวฟ เป็นต้น
  5. ประเภทเชื่อมต่อระบบสายส่งการไฟฟ้า (Grid connected inverter) มีหลักการทำงานคล้ายแผงโซลาเซลล์ กล่าวคือ แปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ และนำกระแสไฟฟ้าดังกล่าวเข้าสู่ระบบสายส่งการไฟฟ้า เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้าน
  6. ประเภท Micro Inverter มีลักษณะการทำงานคล้ายประเภทเชื่อมต่อระบบสายส่งการไฟฟ้า ส่วนความแตกต่าง คือ การติดตั้งแผงโซลาเซลล์ 1 แผงต่อการใช้งานร่วมกับ Micro Inverter และการได้รับไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งพร้อมสำหรับการใช้งานทันที
  7. ประเภท Hybrid Inverter มีการผสมผสานของลักษณะการทำงานและคุณสมบัติระหว่างประเภท Grid connected inverter และประเภท Micro Inverter เพื่อให้เกิดการใช้งานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

คุณสมบัติซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานเพิ่มเติม

  1. การติดตั้งระบบประจุไฟฟ้า 3 ขั้นตอน เพื่อช่วยลดเวลาในการชาร์จแบตตเตอรี่
  2. การโอนย้ายแหล่งพลังงานอย่างต่อเนื่อง ผ่านสวิตซ์ (Transfer switch)
  3. การติดตั้งวงจรเพื่อตรวจจับการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งมีการใช้งานไฟฟ้ากระแสตรงต่ำมากหรือการป้องกันการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มากเกินความจำเป็น

การเลือกใช้งาน

  1. เลือกใช้งานเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมกับขนาดของแบตเตอรี่ ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 12V – 120V
  2. เลือกใช้งานเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าที่มีจำนวนวัตต์มากกว่าจำนวนวัตต์รวมทั้งหมดของเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต้องการใช้งานในแต่ละครั้ง เช่น การใช้งานร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่มีการใช้ไฟกระชาก (Surge) เพื่อเริ่มต้นในการใช้งาน

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

เกตน์สิรี รัตนแก้วมณี

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น