ใช้สายดินแทนสายนิวทรัลได้ไหม

ใช้สายดินแทนสายนิวทรัลได้ไหม

สายนิวทรัล คือ จุดต่อร่วมของขดลวดในหม้อแปลง หากมีการต่อใช้ไฟแต่ละเฟสเท่ากัน แรง

ดันไฟฟ้าที่สายนิวทรัลจะเท่ากับ 0 ทำให้เราสามารถจับสายนี้ได้โดยไม่เป็นอันตราย แต่หากเกิดไฟแต่ละเสไม่สมดุลกันหรือไม่เท่ากันอาจจะเกิดอันตรายได้เช่นกัน

สายดิน (G) คือ สายที่เราต่อลงดินจริงๆ ซึ่งสายดินจะมีแรงดันไฟฟ้าเป็น 0 ดังนั้นจุดไหนของ

วงจรไฟที่ต้องการให้แรงดันไฟฟ้าเป็น 0 เช่น โครงตัวถังของอุปกรณ์ไฟฟ้า ท่อร้อยสายไฟ บล็อกต่อสายไฟ ที่เป็นทำจากโหละสามารถเป็นสื่อตัวนำไฟฟ้าได้ ทั้งหมดนี้จะต้องต่อเชื่อมถึงกันเข้ากับสายดิน โดยสายดินในสภาวะปกติ เราสามารถจับได้ไม่เป็นอันตรายเช่นกัน แต่!!! หากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเกิดไฟรั่ว คือมีสายฮอตไลน์ (L) ต่อถึงสายนิวทรัล ( N) หรือ ต่อถึงสายดิน (G) หรือโครงอุปกรณ์/ท่อ/บล็อกไฟ โดยตั้งใจหรือบังเอิญ แบบนี้ก็จะทำให้สายดินกลับมีกระแสไฟได้ ซึ่งก็จะเกิดแรงดันไฟฟ้าของสายดินไม่เท่ากับศูนย์เมื่อเทียบกับจุดต่อลงดินที่หม้อแปลง โดยอาการแบบนี้หากเอาไขควงทดสอบไฟจิ่มที่สายดินก็จะมีไฟสว่างเช่นกัน ซึ่งหมายถึงสายดินตอนนี้ก็ไม่ปลอดภัยจับไม่ได้เช่นกัน

เราสามารถใช้สายดินแทนสายนิวทรัลได้ไหม?

         หลายคนอาจจะสงสัยในมือสายดินและสายนิวทรัลมีแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 0 เหมือนกัน เราสามารถนำสายดินใช้ร่วมกันได้ไหมหรือนำสายดินมาใช้แทนสายนิวทรัลได้ไหม ขอตอบเลยว่า ไม่ได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งการกระทำดังกล่างนอกจากจะอันตรายแล้วยังผิดกฎหมายอีกด้วย หากทางการไฟฟ้าตรวจพบโดนโทษทั้งจำ ทั้งปรับเลย ใครคิดอยากจะลองทำอย่าหาว่าไม่เตือนนะ

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน อรนุชา แสงจันทร์นุกูล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น