ทําไมหลอดไฟ LED ถึงขาดบ่อย?

ทําไมหลอดไฟ LED ถึงขาดบ่อย?

สาเหตุที่ว่าทําไมหลอดไฟ LED (Light Emitting Diode) ถึงขาดบ่อย

  1. มีแรงดันไฟมากจนเกินไป หรือ ไฟเกิดการกระชากบ่อยครั้ง ส่งผลให้ Driver LED เกิดความเสียหายได้
  1. ไม่มีการติดตั้งการอุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟมากจนเกินไป (Surge Protection) 
  1. มีการติดตั้งหลอดไฟ LED บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง หรือ การเลือกใช้งานหลอดไฟไม่เหมาะสมกับพื้นที่ที่ใช้งาน
  1. หลอดไฟสั่น หรือ เกิดเป็นไฟกะพริบตลอดเวลา ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ บัลลาสต์เสีย, หลอดไฟที่ซื้อมาใหม่ อาจต้องรอสักพัก จะสามารถใช้งานได้ตามปกติ, แรงดันไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้งานหรือมีแรงดันไฟฟ้าน้อยเกินไป ควรเพิ่มขนาดหม้อแปลงไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน
  1. ต้องใช้เวลานานกว่าปกติ หลอดไฟจึงจะสว่าง ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ สตาร์ทเตอร์เสื่อม ควรเปลี่ยนสตาร์ทเตอร์ตัวใหม่, หากบริเวณขั้วหลอดไฟเป็นสีดำ ควรเปลี่ยนหลอดไฟใหม่
  1. เกิดเสียงดัง หลังจากเปิดใช้งานหลอดไฟที่ไม่ได้ใช้งานมาเป็นเวลานาน โดยปกติอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อให้เสียงดังหายไป หากเสียงยังคงดังอยู่ ควรเปลี่ยนบัลลาสต์ตัวใหม่ หรือ บัลลาสต์อาจจะหลวม 
  1. หากบริเวณขั้วหลอดไฟเกิดสีดำ และเป็นหลอดไฟที่มีอายุการใช้งานมานาน ควรเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ หากเป็นหลอดไฟใหม่ ควรเปลี่ยนบัลลาสต์ อาจจะเกิดจากการลัดวงจรของบัลลาสต์
  1. หากบริเวณขั้วหลอดไฟเกิดสีดำเร็วกว่าปกติ และตรวจสอบพบว่า บัลลาสต์จ่ายไฟมีปัญหา ควรเปลี่ยนบัลลาสต์ตัวใหม่ หากตรวจสอบพบว่า หลอดไฟเสีย ควรเปลี่ยนอุปกรณ์หลอดไฟใหม่

วิธีการตรวจสอบหลอดไฟ 

  1. สังเกตบริเวณขั้วของหลอดไฟ หากขั้วหลอดไฟไม่มีสีดำ ให้ลองหมุนหลอดไฟใหม่อีกครั้ง เพราะหลอดไฟอาจจะหลวม
  1. ทดสอบการทำงานของสตาร์ทเตอร์ โดยการถอดออกและใช้ร่วมหลอดไฟชุดอื่น หากสามารถใช้งานได้ปกติ สามารถนำกลับมาใช้งานกับหลอดไฟชุดเดิมได้ หากใช้งานไม่ได้ ให้เปลี่ยนสตาร์ทเตอร์ตัวใหม่
  1. นำไขควงแตะบริเวณขั้วบัลลาสต์ เพื่อวัดไฟทั้ง 2 ขั้ว หากแสดงไฟเป็นปกติ คือ บัลลาสต์ใช้งานได้ตามปกติ หากไม่แสดงไฟ ให้เปลี่ยนบัลลาสต์ตัวใหม่

2 ประเภทของหลอดไฟที่ใช้งานกันทั่วไป

  1. หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) หรือหลอดนีออน มีให้เลือกใช้ทั้งหลอดยาว หรือหลอดทรงโดนัท ซึ่งใช้งานร่วมกับโคมไฟปิดทับ
  1. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (Compact Fluorescent) หลอดประเภทนี้ใช้ไฟน้อย เนื่องด้วยขนาดเล็กของหลอด แต่สามารถให้แสงได้มาก เช่น หลอดตะเกียบ หลอดเกลียว หลอดทอร์นาโด หลอดไส้ เหมาะสำหรับบริเวณที่ใช้ไฟเป็นเวลานาน และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดประเภทฟลูออเรสเซนต์ ถึง 8 เท่า

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหลอดไฟ LED

  1. หลอดไฟ LED คือ อุปกรณ์ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำ “ไดโอดเปล่งแสง”
  1. ใช้พลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC+-) เพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับ Chip LED ซึ่งทำหน้าที่ให้แสงสว่าง และ Chip LED จะทำงานด้วยกัน 2 ตัว คือ Anode และ Cathode ทำหน้าที่รับและส่งกระแสไฟฟ้าขั้งบวกและขั้วลบ จนกระทั่งเกิดเป็นแสงสว่าง โดย Chip LED ที่ได้รับความนิยมในการเลือกใช้งาน มี 2 ชนิด ดังต่อไปนี้

2.1) Chip LED On Board (COB) มีขนาดใหญ่ สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ มีอุณหภูมิเริ่มตั้งแต่ -40 องศาเซลเซียส ถึง 85 องศาเซลเซียส แต่อาจรองรับอุณหภูมิได้สูงสุด 110 องศาเซลเซียสในบางยี่ห้อ มีแรงดันไฟฟ้าระหว่าง 28 – 54 VDC หรือ 90 – 100 VDC เหมาะสำหรับการใช้งาน High Bay, Flood Light, Street Light, โคมไฟที่ใช้กำลังวัตต์สูง เป็นต้น และสามารถต่อขนาน เพื่อใช้งานร่วมกับ Output ของ Driver ได้โดยตรง  

2.2) Chip LED Surface Mounted Diode มีขนาดเล็กกว่า Chip LED On Board เหมาะสำหรับการใช้งานร่วมกับโคมไฟตั้งแต่ขนาดเล็กถึงโคมไฟขนาดใหญ่ เช่น T8 Light, Bulb Light, Panel Light, Down Light, Street Light, Flood Light, High Bay, Area Light เป็นต้น มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับ Chip LED On Board แต่สามารถทนอุณหภูทิได้สูงสุด 135 องศาเซลเซียส และมีแรงดันไฟฟ้า 3 VDC สำหรับการใช้งานต้องต่อวงจรอนุกรม เพื่อช่วยลดแรงดันไฟฟ้า หากใช้งาน Chip LED เป็นจำนวนมากต้องต่อวงจรอนุกรมและวงจรขนาน ซึ่งการวงจรอนุกรม หากเกิดความเสียหายของ Chip LED เพียงตัว จะส่งผลให้ Chip LED ใช้งานไม่ได้ด้วยเช่นกัน   

  1. ขณะเกิดการจ่ายพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC+-) ระหว่าง Chip LED จะเกิดความร้อนและมีอุณหภูมิสูง ส่งผลให้ Chip LED เกิดความเสียหายได้ แต่มีตัวช่วยลดความร้อน คือ แผ่นอลูมิเนียม และช่วยระบายความร้อนได้

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน เกตน์สิรี รัตนแก้วมณี

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น