มารู้จักกับ “แบตเตอรี่กระดาษ” กัน!

มารู้จักกับ “แบตเตอรี่กระดาษ” กัน!

ถ้าเพื่อน ๆ ได้ยินชื่อ แบตเตอรี่กระดาษ อาจจะสงสัยว่า กระดาษสามารถนำมาทำเป็นแบตเตอรี่ได้ด้วยเหรอ แต่ก็ต้องขอบอกว่าในการเรียกว่าแบตเตอรี่กระดาษนั้น ไม่ใช่การนำกระดาษที่เราใช้เขียนเอกสารต่าง ๆ เพื่อมาทำเป็นแบตเตอรี่แต่อย่างใด 

แบตเตอรี่กระดาษ คือ การกล่าวถึงว่ารูปแบบกระดาษนั้น เป็นคุณลักษณะของแบตเตอรี่แบบใหม่ ที่มีลักษณะบางเฉียบ เพียง 0.5 มิลลิเมตรเท่านั้น มีคุณสมบัติเปรียบดั่งกระดาษ ที่สามารถบิด / ดัดรูปทรงโค้งงอได้ตามต้องการ ทำให้สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ต่างได้ง่าย ไม่กินพื้นที่ และที่สำคัญมีความเบามากอีกด้วย 

โดยทำจากกระดาษที่สามารถย่อยสลายได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และท่อนาโนคาร์บอน (Carbon Nanotube) ผ่านการวิจัยจากสถาบันโพลิเทคนิคเรนส์ซเลียร์ (Rensselaer Polytechnic Institute หรือ RPI) และยังประกอบไปด้วยขั้วไฟฟ้า โดยใช้เส้นใยเซลลูโลสเสริมไฮโดรเจล พิมพ์ลงไปในแผ่นกระดาษ เคลือบด้วยชั้นฟอยล์สีทองบาง ๆ เป็นตัวกลางบนขั้วไฟ เพื่อนำประจุไฟฟ้าขั้วลบไปขั้วบวกได้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้แบตเตอรี่กระดาษทำหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ เมื่อผ่านการทดลองและการวิจัยก็พบว่า สามารถใช้กับแรงดันไฟฟ้าที่ 1.5 – 2.5 โวลต์ ให้กระแสไฟได้ที่ 4 มิลลิแอมป์ต่อตารางเซ็นติเมตร เก็บพลังงานไฟฟ้าได้นานถึง 1 ปีครึ่ง

จึงนิยมนำมาใช้งานสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทพัดลมขนาดเล็ก, กลุ่มประเภทไฟฉายรูปแบบต่าง ๆ และกลุ่มสินค้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กำลังจะเข้ามาในอนาคต อาทิ การ์ดเสียงดนตรี, เครื่องอ่านอีบุ๊ค, อีเปเปอร์, คีย์การ์ดตามโรงแรม, ป้ายแท็กติดสินค้า, การ์ดอวยพรที่มีเสียงดนตรี, แผ่นปิดลดความอ้วน, แผ่นปิดลดริ้วรอย (Anti – Wrinkle Patch), แผ่นปิดลดความอยากบุหรี่ (Stop – Smoking Patch) ซึ่งในปัจจุบันอาจจะยังไม่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ด้วยต้นทุนของวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่กระดาษอย่างท่อนาโนคาร์บอน ยังมีราคาค่อนข้างสูง จึงนิยมใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมด้านกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่สามารถทำผลิตภัณฑ์ราคาสูงออกมาจำหน่าย, แหล่งผลิตพลังงานให้กับ RFID, กลุ่มอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ยังไม่ค่อยเห็นในไทย ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง การใช้ Paper Battery คือ การช่วยสิ่งแวดล้อมไปในตัว และลดมลภาวะจากสารพิษจากแบตเตอรี่รูปแบบเก่า ถือว่าเป็นการก้าวกระโดดด้านเทคโนโลยี ที่จะทำให้โลกเราน่าอยู่มากยิ่งขึ้น

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน วรัญชนก วัฒนะวงค์

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น