การซื้อขายพลังงานไฟฟ้าผ่านระบบ Blockchain

เทคโนโลยี เป็นสิ่งที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาอย่างไม่รู้จบ เพื่อทำให้โลกของเรานั้นมีการพัฒนาที่ก้าวล้ำและนำสมัยในด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ การคมนาคมขนส่ง ฯลฯ โดยการพัฒนานี้เองที่จะส่งผลให้โลกของเรานั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น

โดยเทคโนโลยีที่เรานำมาเสนอในวันนี้ เป็นเทคโนโลยีที่กำลังจะรับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน นั่นก็คือ เทคโนโลยีระบบ “Blockchain”

ระบบ Blockchain (บล็อกเชน) เป็นเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ โดยมันเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของสกุลเงินหรือสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบของดิจิทัล ที่จะช่วยให้แต่ละบุคคลสามารถซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้ากันได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นที่จะต้องกระทำผ่านตัวกลางอย่างธนาคาร หรือ บริษัทต่าง ๆ เป็นต้น

แต่นอกจากที่ระบบ Blockchain จะได้รับความนิยมในด้านเศรษฐกิจและการเงินแล้ว ในปัจจุบันระบบนี้ยังได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในการซื้อขายและแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย โดยกระบวนการการทำงานของระบบ Blockchain กับการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้านั้นจะสามารถทำได้ผ่านกระบวนการผลิต Solar Rooftop (โซล่าร์ รูฟท็อป) โดยการนำพลังงานที่ได้ไปใช้จ่ายให้กับอาคารหรือสถานประกอบการต่าง ๆ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยในส่วนของกระบวนการซื้อขายและแลกเปลี่ยนของพลังงานไฟฟ้าภายในอาคาร จะทำได้ก็ต่อเมื่อปริมาณของการผลิตและการใช้ไฟฟ้าในแต่ละอาคารนั้นมีความแตกต่างกัน โดยเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กรณี ดังนี้

  1. ผลิตพลังงานไฟฟ้าเกินการใช้งาน

ธุรกิจที่มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้ภายในอาคารหรือสถานประกอบการ สามารถซื้อขายและแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าได้ ก็ต่อเมื่อมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าผ่านระบบ P2P (peer-to-peer) ที่เกินหน่วยของการใช้งานภายในธุรกิจและสถานประกอบการ โดยไฟฟ้าที่เหลือนั้นจะถูกนำไปขายให้กับที่กักเก็บไฟฟ้า เพื่อที่จะได้นำไปขายต่อให้กับอาคารหรือสถานประกอบการอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้ 

  1. มีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มากกว่าความสามารถการผลิตของระบบไฟฟ้า

ในกรณีที่อาคารหรือสถานประกอบการบางแห่ง มีความต้องการในการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มากกว่าความสามารถที่ระบบไฟฟ้าจะสามารถผลิตได้ ทางอาคารและสถานประกอบการสามารถซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าได้ผ่านทางช่องทางทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ระบบ P2P ระบบกักเก็บพลังงาน และ การไฟฟ้านควรหลวง (กฟน.) เป็นต้น

  1. เกิดจากกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 รวมกัน

ในกรณีที่อาคารหรือสถานประกอบการใด ๆ มีความต้องการในการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มากกว่าที่ระบบจะสามารถผลิตพลังงานออกมาได้ ก็สามารถซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนจากอาคารและสถานประกอบการอื่น ๆ ได้ และในส่วนของอาคารหรือสถานประกอบการที่มีการผลิตไฟฟ้าที่มากเกินความต้องการ ก็สามารถนำไปซื้อขายและแลกเปลี่ยนให้กับผู้ซื้อผ่านระบบ P2P ได้

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น