Pressure Transducer คืออะไร?

Pressure Transducer (เพรสเซอร์ทรานดิวเซอร์) เป็นทรานสดิวเซอร์ชนิดพาสซีฟ (Passive Transducer) ที่มีหลักการในการทำงานที่ต้องอาศัยหลักการเปลี่ยนค่าความจุไฟฟ้าที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและระยะการเคลื่อนที่ของแผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm Plate) โดยใช้หลักการเดียวกันกับการวัดตำแหน่งและระยะการเคลื่อนที่ด้วย “ทรานสดิวเซอร์ชนิดเปลี่ยนแปลงความจุไฟฟ้า” (Capacitive Displacement Transducer) 

โดยโครงสร้างของ Pressure Transducer นั้นจะประกอบไปด้วย แผ่นโลหะไดอะแฟรมขนาดบาง ๆ ที่ถูกยึดติดไว้กับท่อทรงกระบอก ที่เมื่อได้รับความดันเข้ามา ก็จะทำให้แผ่นไดอะแฟรมนั้นโก่งตัวไปตามทิศทางของความดัน โดยระยะการโก่งตัวของแผ่นไดอะแฟรมในทรานดิวเซอร์ชนิดนี้จะแปรผันตรงกับขนาดของความดันที่มากระทำ โดยระยะของการโก่งตัวของแผ่นไดอะแฟรมของทรานดิวเซอร์ชนิดนี้จะอยู่ในช่วง 10-8 mm. ถึง 10 mm. 

หากเราต้องการวัดระยะการเปลี่ยนแปลงของค่าความจุไฟฟ้าของทรานดิวเซอร์ชนิดนี้ สามารถทำได้โดยการติดตั้งแผ่นเพลทตัวนำที่มีฉนวนหุ้ม โดยติดตั้งในแนวขนานประกบแผ่นไดอะแฟรม จากนั้นทำให้แผ่นทั้งสองนี้กลายเป็นขั้วไฟฟ้า และเมื่อแผ่นไดอะแฟรมได้รับความดันเข้ามาก็จะทำให้เกิดการสั่นหรือการโก่งตัวเป็นระยะ ทำให้เราสามารถวัดระยะการเปลี่ยนแปลงค่าความจุไฟฟ้าระหว่างแผ่นไดอะแฟรมกับขั้วไฟฟ้าได้นั่นเอง

Pressure Transducer จึงเป็นทรานดิวเซอร์ที่เหมาะสำหรับการวัดความดันแตกต่าง (Differential Pressure) ที่ไม่สูงมาก เนื่องจากหากเรานำทรานดิวเซอร์ชนิดนี้ ไปวัดค่าความดันที่มีความสูงที่มากจนเกินไป ก็จะทำให้ค่าที่วัดได้นั้นไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร 

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น