อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต มีอะไรบ้าง?

ไฟฟ้าสถิต เป็นสิ่งที่น่ารำคาญใจของใครหลาย ๆ คน ที่ไม่ว่าจะไปหยิบจับกับวัตถุหรือไปสัมผัสพื้นผิวอะไร ก็จะทำให้เกิดอาการช็อตเบา ๆ ขึ้นมา และยิ่งโดยเฉพาะกับช่างไฟฟ้า ซึ่งเป็นงานที่ต้องคลุกคลีอยู่กับไฟฟ้าตลอดเวลา ก็จะยิ่งสร้างความน่ารำคาญใจในเวลาที่ต้องปฏิบัติงานไม่มากก็น้อยเลย

ช่างไฟฟ้าจึงควรมี อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต เอาไว้อยู่เสมอ เพื่อใช้ในเวลาปฏิบัติงาน โดยอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิตนั้น มีอยู่ด้วยกันดังนี้

  1. สายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิต

เป็นสายรัดข้อมือที่ผลิตจากวัสดุโพลีเอสเตอร์และสแตนเลสที่สามารถสัมผัสกับผิวหนังได้ เนื้อผ้าของสายรัดจะทำมาจากด้ายไนล่อนผสมโลหะ โดยมีทั้งแบบมีสายและไร้สาย มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าสถิตลงสู่กราวด์ได้ อีกทั้งยังมีค่าความต้านทานไฟฟ้าสถิตสูงสุดถึง 106 โอห์ม เหมาะสำหรับการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับงานอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการควบคุมการเกิดไฟฟ้าสถิต 

  1. ถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิต

เป็นถุงมือที่ผลิตมาจากวัสดุโพลีเอสเตอร์ 100% เช่นเดียวกัน มีส่วนประกอบของเส้นใยคาร์บอน บางชนิดจะมีการเคลือบสารกันลื่นอย่าง โพลียูรีเทน และปุ่มพีวีซี มีคุณสมบัติในการป้องกันไฟฟ้าสถิตที่ 107 / SQ เหมาะกับงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับชื้นส่วนของอิเล็กทรอนิกส์ จอแสดงผล และงานอื่น ๆ ที่ต้องการควบคุมการเกิดไฟฟ้าสถิต

  1. ถุงนิ้วป้องกันไฟฟ้าสถิต

เป็นถุงที่เอาไว้ใส่ที่นิ้วในการหยิบจับอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ในงานไฟฟ้า ผลิตจากยางธรรมชาติ ไม่ผสมแป้ง และผ้าคอตตอน แบบรัดขอบ บางชนิดก็มีการเคลือบน้ำยาป้องกันไฟฟ้าสถิตเอาไว้ด้วย เหมาะสำหรับใช้สวมใส่ขณะหยิบจับชิ้นงานที่มีขนาดเล็กในงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยา และอื่น ๆ 

  1. สายรัดข้อเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต

เป็นสายรัดที่ใช้สวมใส่ทับกับรองเท้าได้เลย เป็นสายรัดที่ช่วยทำให้รองเท้าธรรมดาของเรา ซึ่งเป็นฉนวนนำไฟฟ้า กลายเป็นรองเท้า ESD (Electrostatic Discharge) ได้ เหมาะสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับงานด้านอิเล็กทรอนิกส์ และต้องการควบคุมการเกิดไฟฟ้าสถิต

  1. ปืนเป่าลมป้องกันไฟฟ้าสถิต

เป็นเครื่องเป่าที่สามารถกำจัดไฟฟ้าสถิตและฝุ่นได้ โดยมีประสิทธิภาพในการขจัดแบบคงที่ เหมาะกับการใช้งานในการทำความสะอาดวัสดุและชิ้นส่วนสำคัญที่มีขนาดเล็ก นิยมนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับงานด้านอิเล็กทรอนิกส์ และต้องการควบคุมการเกิดไฟฟ้าสถิต

บทคัดย่อ : อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต 1. สายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิต 2. ถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิต 3. ถุงนิ้วป้องกันไฟฟ้าสถิต 4. สายรัดข้อเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต 5. ปืนเป่าลมป้องกันไฟฟ้าสถิต

คำนำทาง :

  • อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต
  • อุปกรณ์ลดไฟฟ้าสถิต
  • อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต
  • ไฟฟ้าสถิตอุปกรณ์

สารแขวนลอยในน้ำ คืออะไร? มีกี่ชนิด?

สารแขวนลอย (Suspension Solids) เป็นสารเนื้อผสมที่มีขนาดของอนุภาคที่ใหญ่กว่า 10-4 เซนติเมตร หรือ 1 ไมโครเมตร ขึ้นไป เป็นสารที่เราสามารถมองเห็นอนุภาคของสารแขวนลอยที่ลอยกระจายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่ง ที่เป็นตัวกลางอย่างน้ำประปาด้วยตาเปล่าได้ อีกทั้งหากตั้งทิ้งไว้ก็จะเกิดการตกตะกอนของสารแขวนลอยนั้น ๆ 

ซึ่งสารแขวนลอยนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดหลัก ๆ ดังนี้

  1. Settable Solids

เป็นสารแขวนลอยที่อยู่ในรูปของของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ แต่ตะกอนมีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักที่มากกว่าน้ำ จึงทำให้เมื่อตั้งทิ้งไว้สักพัก สารแขวนลอยเหล่านี้ จะตกลงมาที่ก้นภาชนะกลายเป็นตะกอนได้

  1. Suspended Solids 

เป็นสารแขวนลอยที่อยู่ในรูปของของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ อีกทั้งยังสามารถแขวนลอยอยู่ในน้ำได้ ตะกอนของสารแขวนลอยชนิดนี้จะมีขนาดที่เล็กมาก และมีน้ำหนักเบา

ซึ่งในกรณีที่สารแขวนลอยนั้นมีขนาดที่เล็กมากอย่างชนิด Suspended Solids ที่ไม่สามารถตกตะกอนด้วยตัวของมันเองได้นั้น เราสามารถแยกสารแขวนลอยที่อยู่ในสารเนื้อผสมออกมาได้โดยผ่านกรรมวิธีในการกรอง ดังนี้

  1. การกรองด้วยแผ่นกรอง

เป็นกรรมวิธีการกรองแบบละเอียด นิยมนำมาใช้ในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ เพื่อนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการอุปโภคหรือบริโภค อย่างเช่น แผ่นกรองน้ำดื่ม ซึ่งส่วนมากจะมีขนาดรูกรองขนาดเล็ก ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดได้ทั้งสารคอลลอยด์ และสารแขวนลอย

  1. การระเหยด้วยความร้อน

เมื่อนำความร้อนมาใช้กับตัวกลางอย่าง น้ำ หรือ แอลกอฮอล์ ก็จะทำให้ตัวกลางเกิดการเดือด และระเหยกลายเป็นไอจนหมด และจะคงเหลือไว้แต่ของแข็งที่เป็นสารแขวนลอยหรือสารชนิดอื่น ๆ ที่มีการปนเปื้อนอยู่ในตัวกลาง ซึ่งการแยกสารแขวนลอยด้วยความร้อนนั้นจะทำให้เราได้ทั้งสารแขวนลอยและสารคอลลอยด์ รวมถึงสารละลายที่เกิดการตกผลึกกลายเป็นของแข็งอีกด้วย

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น