หลักการทำงานของเตาแม่เหล็กไฟฟ้า

เตาแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เตาเหนี่ยวนำไฟฟ้า (Induction Hob) เป็นเตาที่ให้พลังงานความร้อนได้รวดเร็วกว่าเตาแบบให้ความร้อนทั่วไป เนื่องจากมันจะไม่มีความร้อนแผ่ออกไปยังอากาศเหมือนกับเตาให้ความร้อนทั่วไป จึงทำให้สูญเสียพลังงานน้อยกว่า อีกทั้งเตาแม่เหล็กไฟฟ้ายังเป็นเตาที่ลดอัตราการเกิดอันตรายจากเพลิงไหม้หรือการลุกติดไฟในระหว่างการทำอาหารอีกด้วย

โดยหลักการทำงานของเตาแม่เหล็กไฟฟ้า ก็คือ มันจะให้ความร้อนผ่านการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กระหว่างเตาแม่เหล็กไฟฟ้ากับภาชนะที่เหนี่ยวนำไฟฟ้า อย่างเช่น เหล็กหรือสเตนเลสบางชนิด จึงทำให้เกิดความร้อนขึ้นมาโดยตรงที่ก้นภาชนะของเตาแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่ได้ผ่านตัวกลางอื่น ๆ เหมือนเตาที่ให้ความร้อนทั่วไป โดยจะเกิดความร้อนขึ้นที่ขดลวด และความร้อนจะถูกส่งต่อไปยังจานร้อนเหล็กหล่อหรือกระจกเซรามิค แล้วจึงส่งต่อไปยังภาชนะ จึงทำให้เตาแม่เหล็กไฟฟ้านั้นสามารถให้พลังงานความร้อนที่รวดเร็วและประหยัดพลังงานมากกว่าเตาแบบให้ความร้อนทั่วไป

ซึ่งความร้อนจากเตาแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถเกิดขึ้นได้ 2 ส่วน ดังนี้ 

ส่วนแรกคือ การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก หรือ Magnetic Hysteresis (แมกเนติก ฮิสเทรีซิส) คือการที่พลังงานแม่เหล็กเปลี่ยนจากไฟฟ้ากระแสสลับ กลายเป็นพลังงานความร้อนที่ก้นภาชนะ ซึ่งขนาดของความร้อนจะแปรผันโดยตรงกับพี้นที่ของ Hysteresis Loop (ฮิสเทรีซิส ลูป) พลังงานความร้อนส่วนนี้ มีสัดส่วนประมาณ 7% หรือน้อยกว่าความร้อนที่เกิดทั้งหมด

ส่วนที่สองคือ ส่วนหลักของความร้อน เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่มีชื่อว่า กระแสไฟฟ้าไหลวน หรือ Eddy Current (เอ็ดดี้ เคอร์เรนท์) ซึ่งเกิดขึ้นที่ก้นภาชนะ โดย Eddy Current จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการเคลื่อนที่ผ่านไปมาระหว่างแผ่นโลหะที่เหนี่ยวนำแม่เหล็กกับสนามแม่เหล็ก ขนาดของ Eddy Current เมื่อลดต่ำลงเป็น 37% จากค่าเริ่มต้น ขนาดนี้จะถูกเรียกว่า Skin Depth (สกิน เดปท์) และหาก Skin Depth มีค่าเป็น ¼ ของความหนาของก้นภาชนะ Eddy Current จะถูกเปลี่ยนสภาพเป็นความร้อนไปยังฐานก้นภาชนะ และความร้อนจะถูกถ่ายทอดไปยังอาหารเกือบทั้งหมด จะมีส่วนน้อยมากที่ถูกถ่ายไปยังเตา

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น