ทฤษฎีอิเล็กตรอน Electron Theory

จากการพัฒนาและวิจัยในปัจจุบันทำให้ทราบว่าสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นของแข็งของเหลวหรือก๊าซ ต่างก็ประกอบขึ้นจากส่วนที่เล็ก ๆ ที่เรียกว่า “โมเลกุล” (Molecules) ซึ่งในแต่ละโมเลกุลของมันประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “อะตอม” (Atom) ดังนั้น ทฤษฎีอิเลกตรอนจะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของอะตอม ซึ่งในแต่ละอะตอมนั้นยังประกอบด้วยโปรตอน (Proton) นิวตรอน (Neutron) และอิเล็กตรอน (Electron) อยู่มากมายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของอะตอมทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถมองเห็นได้ล้วนเป็นสสารทั้งสิ้น สสาร (Matters) คือสิ่งที่มีตัวตนมีน้ำหนัก และต้องการที่อยู่มันจะอยู่ในรูปของของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ตัวอย่างเช่น เหล็ก ก้อนหิน ไม ้เป็นสสารที่อยู่ในรูปของของแข็ง น้ำ แอลกอฮอล์ น้ำมัน เป็นสสารที่อยู่ในรูปของของเหลว ส่วนออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นสสารที่อยู่ในรูป

สำหรับโปรตอนกับนิวตรอนนั้นอยู่นิ่งไม่เคลื่อนที่ ส่วนอิเล็กตรอนสามารถที่จะเคลื่อนที่จากอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่งได้ การเคลื่อนที่จากอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่งของอิเล็กตรอนนี้เอง จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า นั่นเอง 

หรือถ้าอะตอมในชิ้นสารสูญเสีย หรือได้รับอิเล็กตรอน สารนั้นจะมีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นได้อะตอมจะสามารถเพิ่มหรือลดอิเล็กตรอนได้หลายวิธี เช่น การขัดสีระหว่างวัตถุต่างชนิดกัน เมื่อนำแท่งแก้วถูกับผ้าไหมแท่ง แก้วจะถ่ายอิเล็กตรอนให้ผ้าไหม แท่งแก้วจึงมีประจุบวกและผ้าไหมมีประจุลบเมื่อนำวัตถุสองชนิดที่มีประจุไฟฟ้าไม่เท่ากันเข้ามาใกล้กัน จะทำให้เกิดแรงขึ้นระหว่างวัตถุทั้งสอง แต่เนื่องจากวัตถุทั้งสองไม่แตะกัน จึงไม่สามารถทำให้ประจุไฟฟ้าถ่ายเข้าหากันได้ ลักษณะที่เกิดขึ้นแต่ไม่เกิดการถ่ายเทอิเล็กตรอน หรือกระแสไฟฟ้าไหลไปได้ เรียกว่าไฟฟ้าสถิต (Static Electricity)

ผู้เขียน : หฤทธิ์ ล้อทองพานิชย์

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น