หลักการทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์

เซอร์กิตเบรกเกอร์ คือ สวิตช์อัตโนมัติซึ่งเป็นอุปกรณ์รับน้ำหนักที่ออกแบบโดยใช้เทคนิคทางกลไฟฟ้าเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากไฟฟ้าเกินหรือไฟฟ้าลัดวงจร เซอร์กิตเบรกเกอร์มีโซลินอยด์อยู่ภายในและจะถูกเก็บไว้ที่ระดับแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดเพื่อให้กลไกการทริกเกอร์สมดุล เมื่อพบข้อผิดพลาดในวงจรเช่นการโอเวอร์โหลดหรือไฟฟ้าลัดวงจรสวิตช์จะถูกกระตุ้นและการไหลของกระแสจะหยุดทำงาน หลังจากแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องในระบบไฟฟ้าแล้วเบรกเกอร์สามารถเปิดอีกครั้งได้ 

โดย หลักการทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์ คือ เมื่อมีกระแสในวงจรเกินพิกัดที่เบรกเกอร์ไฟฟ้าชิ้นนี้สามารถรับหน้าสัมผัสของเซอร์กิตเบรกเกอร์และจะเปิดวงจร ซึ่งจะมีการทำงานดังนี้

  • หลักการทำงานประเภท Thermal Trip 

จะมีโครงสร้างภายในประกอบด้วย แผ่นโลหะไบเมทัล 2 แผ่น ซึ่งทำจากโลหะที่ต่างชนิดกันมีสัมประสิทธิ์ความร้อนไม่เท่ากัน เมื่อมีกระแสไหลผ่านโลหะไบเมทัลจะทำให้โลหะไบเมทัลเกิดการโก่งตัวแล้วไปปลดอุปกรณ์ทางกลทำให้เบรกเกอร์ตัดวงจรเรียกว่าเกิดการทริป

  • หลักการทำงานประเภท Magnetic Trip

จะอาศัยหลักการทำงานของอำนาจสนามแม่เหล็ก เมื่อวงจรเกิดกระแสลัดวงจรหรือมีกระแสเกินจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มสูงแล้วทำการปลดอุปกรณ์ทางกลไก ทำให้เบรกเกอร์เกิดการตัดวงจรหรือเปิดวงจรขึ้น ซึ่งการทำงานแบบนี้จะตัดวงจรได้เร็วกว่าแบบ Thermal Trip

  • หลักการทำงานประเภท Thermal-Magnetic Trip 

เมื่อมีกระแสในวงจรเกินค่าพิกัดหน้าสัมผัสของเซอร์กิตเบรกเกอร์จะเปิดวงจร โดยอาศัยทั้งความร้อนและการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กช่วยในการปลดกลไกหน้าสัมผัสให้เปิดวงจร

  • หลักการทำงานประเภท Solid State Trip หรือ Electronic Trip 

เป็นการนำวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ร่วมกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ สามารถปรับค่ากระแสทริปให้ทำงานในย่านต่างๆ ได้ โครงสร้างภายในจะมีหม้อแปลงกระแส (CT: Current Transformer) อยู่ภายในตัวเบรกเกอร์ ทำหน้าที่แปลงกระแสให้ต่ำลงและมีไมโครโปรเซสเซอร์ทำหน้าที่วิเคราะห์กระแส หากกระแสมีค่าเกินกว่าที่กำหนดไว้จะสั่งการให้มีการปลดวงจรออก

ผู้เขียน : ฐิติรัตน์ ทองคำชุม

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น