5 step ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าง่ายๆ

  1. ทดสอบมิเตอร์ไฟฟ้า

โดยการปิดสวิตซ์ไฟภายในบ้านทุกจุด รวมถึงถอดปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ออกให้หมด แล้วออกไปดูที่มิเตอร์หน้าบ้านว่าเฟืองเหล็กยังหมุนอยู่หรือไม่ เพราะหากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่ว ให้ลองตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ เช่น เครื่องตัดไฟรั่วว่ายังทำงานดีอยู่หรือไม่ ด้วยการกดปุ่มทดสอบ ซึ่งถ้ายังใช้งานได้ดี สวิตช์หรือคันโยกจะตกลงมาทันที เพื่อตัดกระแสไฟฟ้า แต่ถ้าเครื่องตัดไฟรั่วไม่ทำงาน จำเป็นต้องเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบและแก้ไขปัญหา

  1. ตรวจสอบเมนสวิตช์

ตรวจสอบเมนสวิตช์ สังเกตสภาพโดยรอบเป็นขั้นตอนสำคัญควรตรวจสอบให้ดีว่าไม่มีรอยแตกของอุปกรณ์และ ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีมดหรือแมลงเข้าไปทำรังอยู่ในตู้หรือไม่ คัตเอาท์และเบรกเกอร์ยังสามารถใช้ปลดวงจรไฟฟ้าได้หรือไม่ ตำแหน่งการติดตั้งควรอยู่ในที่สูงไม่มีความชื้น

  1. ตรวจสอบสายไฟว่ามีส่วนที่ชำรุดหรือไม่

สายไฟหากไม่ได้ใส่ใจตรวจสอบให้ดี ก็สามารถเปื่อยและพังได้เช่นกัน การตรวจสอบสายไฟ ต้องตรวจสอบสายว่ามีรอยเปื่อยหรือไม่ ความกรอบของสายไฟที่อาจจะเก่าหรือแมลงหรือหนูกัดจนสายขาดยุ่ย สายไฟเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่หลาย ๆ คนอาจมองข้าม เนื่องจากเห็นว่าไม่ใช่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่พังได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะสายไฟที่ถูกซ่อนอยู่ใต้เพดาน ด้วยผ่านการใช้งานมานาน และสามารถถูกหนูและแมลงสาบกัดแทะจนขาดได้ 

  1. ตรวจสอบปลั๊กไฟให้เรียบร้อย

ปลั๊กไฟต้องไม่แตกร้าว อยู่ที่สูงพ้นมือเด็ก และกรณีพื้นชื้น หรือน้ำท่วม เป็นอุปกรณ์ที่ไม่ควรมองข้าม โดยจะต้องตรวจสอบปลั๊กไฟว่ามีรอยไหม หลวม และมีรอยแตกร้าวหรือไม่ ถ้าเจอว่าเต้ารับหลวมก็ขันสกรูให้แน่นดังเดิม แต่ถ้ามีรอยแตกให้เปลี่ยนใหม่ทันที และควรตรวจสอบเต้ารับทุกจุดว่ามีไฟหรือไม่ โดยการใช้ไขควงวัดไฟ ถ้าหลอดไฟสว่างขึ้นแสดงว่าเต้ารับยังใช้งานได้

  1. ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด

ควรตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่มีการจับต้องขณะใช้งาน อย่างเช่น พัดลม , หม้อหุงข้าว , กระติกน้ำร้อน ,  เครื่องซักผ้า โดยตรวจสอบ ปลั๊กเสียบ สมบูรณ์ไม่มีรอยไหม้หรือละลาย เพราะความร้อน , สายไฟไม่ยุ่ย , ขาด , กรอบ ฟังเสียงตอนเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ เช่น พัดลม ตู้เย็น ว่ามีเสียงผิดปกติอะไรบ้าง และเกิดกระแสไฟรั่วขึ้นหรือไม่ ด้วยการใช้ไขควงวัดไฟ ตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่และแตะลงไปที่ตัวอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียบปลั๊กไว้ ถ้าหากหลอดติดแสดงว่าเกิดไฟรั่วขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยเครื่องไฟฟ้าที่ต้องใช้น้ำหรืออยู่ในบริเวณชื้นตลอด เช่น เครื่องซักผ้า , เครื่องทำน้ำอุ่น , ปั๊มน้ำ ควรใช้สายไฟยึดกับส่วนที่เป็นโลหะของตัวเครื่อง จากนั้นนำไปยึดกับตะปูที่ตอกติดอยู่กับพื้น(สายดิน)  เพื่อนำกระแสไฟที่รั่วให้ไหลลงสู่ดินเพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานเกิดอันตรายจากการลัดวงจรและไฟฟ้ารั่ว

ควรหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ ว่ามีสภาพที่สมบูรณ์และพร้อมใช้งานหรือไม่ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน

ผู้เขียน : นาถชนก สารโภค

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น