สถานีชาร์จรถไฟฟ้า

ประเภทของ EV Charger

ภาพประกอบ mode 4

แบ่งออกเป็น 4 mode

Mode 1

การเชื่อมต่อชาร์จรถยนต์ ไฟฟ้า เป็นการเชื่อมต่อยานยนต์ไฟฟ้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ ผ่านเต้ารับไฟฟ้ามาตรฐานตามบ้านหรืออาคารโดยตรง กำหนดขนาดกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 16 A และขนาดแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 250 Vac (สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส) และไม่เกิน 480 Vac (สำหรับระบบไฟฟ้า 3 เฟส) โดยแหล่งจ่ายไฟฟ้าต้องมีระบบ สายดินและอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน
(Circuit Breaker) และสายเคเบิลที่ใช้ต้องมีสายดินด้วยเช่นกัน

ภาพประกอบ mode 3

เนื่องจากการอัดประจุไฟฟ้า Mode 1 เป็นการเชื่อมต่อยานยนต์ไฟฟ้ากับเต้ารับไฟฟ้าตามบ้านหรือ อาคารโดยตรง โดยไม่มีอุปกรณ์อื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนั้น จึงไม่มีฟังก์ชันควบคุมการอัดประจุ (Control Pilot Function) อีกทั้งเต้ารับตามบ้านหรืออาคารหลายแห่งไม่มีระบบสายดิน จึงอาจเกิดอันตรายได้ต่อผู้ใช้งานได้ หากเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วหรือลัดวงจร บางประเทศจึงห้ามใช้การอัดประจุไฟฟ้า Mode 1 เช่น สหรัฐอเมริกา

ภาพประกอบ mode 4


Mode 2

เป็นการเชื่อมต่อยานยนต์ไฟฟ้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับผ่านเต้ารับไฟฟ้ามาตรฐานตามบ้านหรืออาคารโดยตรง กำหนดขนาดกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 32 A และขนาดแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 250 Vac (สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส) และไม่เกิน 480 Vac (สำหรับระบบไฟฟ้า 3 เฟส) โดยแหล่งจ่ายไฟฟ้าต้องมีระบบ สายดินและอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน (Circuit Breaker) และสายเคเบิลที่ใช้ต้องมีสายดินด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ใน Mode 2 สายเคเบิลจะต้องมีฟังก์ชันควบคุมการอัดประจุ (Control Pilot Function) และ ระบบป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว (Residual Current Device: RCD) ซึ่งอาจติดตั้งอยู่ภายในกล่องควบคุม ในสายเคเบิล (In-cable Control Box: ICCB) โดย ICCB จะต้องมีระยะห่างจาก Plug ไม่เกิน 0.3 เมตร หรือ ติดตั้งอยู่ภายใน Plug

Control Pilot Function มีหน้าที่ในการควบคุมการอัดประจุไฟฟ้าและตรวจสอบระบบป้องกันในระหว่างการอัดประจุไฟฟ้า เช่น ตรวจสอบว่าแหล่งจ่ายไฟฟ้ามีการต่อสายดินอยู่หรือไม่ หรือสั่งให้ลดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการอัดประจุเมื่อแบตเตอรี่เกิดความร้อนสูง เป็นต้น

โดย Control Pilot Function จะสื่อสารกับยานยนต์ไฟฟ้าโดยใช้สัญญาณการมอดูเลตความกว้างพัลส์ (Pulse Width Modulation: PWM)

รับงานติดตั้ง EV chaging station
งานปรับปรุงระบบไฟฟ้า
เพื่อรองรับ ระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
ตามมาตรฐานวิศวกรรม การไฟฟ้า
โดยทีมงาน ช่างไฟดอทคอม
Line: @changfi
tel : 061 – 417- 5732

ที่ชาร์จรถไฟฟ้า


Mode 3

เป็นการเชื่อมต่อยานยนต์ไฟฟ้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ (เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า) ผ่านเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EVSE) เช่น สถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยที่ EVSE จะเชื่อมต่ออย่างถาวรกับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ ขนาดกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าสูงสุดในการอัดประจุไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของเต้าเสียบและเต้ารับ และมาตรฐานของการอัดประจุไฟฟ้าที่ใช้ การอัดประจุไฟฟ้า Mode 3 (เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า) เป็นรูปแบบที่เห็น

ทั่วไปในสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะที่สามารถจอดรถเป็นระยะเวลานานได้ เช่น ที่ทำงาน ห้างสรรพสินค้า รวมถึงเครื่องอัดประจุไฟฟ้ารูปแบบ Wall Charge ในบ้านอยู่อาศัย

EVSE ของการอัดประจุไฟฟ้า Mode 3 (เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า) จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน เช่น อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน(Circuit Breaker) อุปกรณ์ป้องกันกระแสรั่ว (Earth Leakage Circuit Breaker) และอุปกรณ์สำหรับตัดต่อ

การจ่ายไฟฟ้า (Contactor) และต้องมีฟังก์ชันควบคุมการอัดประจุ (Control Pilot Function) เพื่อควบคุมการอัดประจุไฟฟ้าและตรวจสอบระบบป้องกันในระหว่างการอัดประจุไฟฟ้า เช่น ตรวจสอบว่าขณะนี้ยานยนต์ไฟฟ้าเชื่อมต่อกับ EVSE (เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า) อยู่หรือไม่ ตรวจสอบว่ามีการเชื่อมต่อระบบป้องกันอยู่หรือไม่ รวมทั้งการสื่อสารเพื่อควบคุมระดับกระแสไฟฟ้าในการอัดประจุ โดย Control Pilot Function จะสื่อสารกับยานยนต์ไฟฟ้าโดยใช้สัญญาณการมอดูเลตความกว้างพัลส์ (Pulse Width Modulation: PWM) เช่นเดียวกับ Mode 2

Mode 4

เป็นการเชื่อมต่อยานยนต์ไฟฟ้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับผ่านเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EVSE) เช่น สถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยที่ EVSE จะเชื่อมต่ออย่างถาวรกับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ และมี Off-board Charger เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรงก่อนจ่ายเข้าสู่ยานยนต์ไฟฟ้า

ขนาดกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าสูงสุดในการอัดประจุไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของเต้าเสียบ และ เต้ารับ และมาตรฐานของการอัดประจุไฟฟ้าที่ใช้ การใช้งานการอัดประจุไฟฟ้า Mode 4 ส่วนใหญ่จะอยู่ในสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะเท่านั้น

EVSE ของการอัดประจุไฟฟ้า Mode 4 จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเช่นเดียวกับ Mode 3 แต่การควบคุมการอัดประจุ และการสื่อสารกับยานยนต์ไฟฟ้าใน Mode 4 จะซับซ้อนกว่า Mode 3 มาก และมีรูปแบบของการควบคุมและการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบของเต้าเสียบและเต้ารับ และมาตรฐานของการอัดประจุไฟฟ้าที่ใช้ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างสถานีอัดประจุไฟฟ้ากระแสตรงกับยานยนต์ไฟฟ้าจะถูกกำหนดอยู่ในมาตรฐาน IEC 61851-23 และ IEC 61851-24      

รับงานติดตั้ง EV chaging station
งานปรับปรุงระบบไฟฟ้า
เพื่อรองรับ ระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
ตามมาตรฐานวิศวกรรม การไฟฟ้า
โดยทีมงาน ช่างไฟดอทคอม
Line: @changfi
tel : 061 – 417- 5732

4ความคิดเกี่ยวกับ“สถานีชาร์จรถไฟฟ้า”

  1. ขอคำแนะนำ
    1.การที่จะสร้าง สถานี charger ขึ้นมาสักแห่ง เราต้องรู้อะไรบ้างครับ ?
    2.ระหว่าง แหล่งกำเหนิดไฟฟ้า จากการไฟฟ้า กับ จากพลังงานธรรมชาติ (โซล่าเซลว์) อันไหนดีกว่า และประหยัดต้นทุนกว่ากันครับ ?
    3.หากเราสร้างสถานี charge เราควรจะทำเป็น ชนิด AC หรือ ชนิด DC ดีกว่ากันครับ หรือประหยัดต้นทุนกว่ากันครับ ?
    4.ถ้าเราต้องการช่อง charger = 20 ช่อง เราควรจะมีพื้นที่ เท่าไรดีครับ ?
    5. งบประมาณทีเราต้องมีในการสร้างสถานี charger 20ช่อง ขึ้นมา ต้องใช้งบเท่าไรครับ ?
    6.สุดท้ายเราจะหางบจากไหน? (อยากทำแต่ทุนน้อย)

    1. 1) 1.1 ต้องกำหนดงบ
      1.2 หาบริษัทฯที่ทำให้ได้ครบวงจร
      1.3 กำหนดแบบการก่อสร้างตำแหน่งจัดวาง ภูมิสถาปัต
      1.4 ปริมาณรถที่คาดหมาย ในการเข้าจอดต่อวัน
      1.5 กำหนดอัตราการขยายตัวของจำนวนรถ
      1.6 กำหนดระยะเวลาการคืนทุน
      2) การผลิตไฟฟ้าได้เองย่อมดีกว่าแน่นอนในระยะยาว แต่.. การพัฒนาไปของEV ค่อนข้างเร็วระบบการชาร์จอีวี ระยะเวลาคืนทุนสั้นดูจะเป็นข้อดี แต่ก็อาจจะมีการปรับความสามารถการชาร์จขึ้นไปอีก หากจะคิดในแง่ที่ว่าต้องทำโซล่าเซลล์เพื่อซัพไพล์ระบบอีวีก็เห็นจะต้องปรับระบบเรื่อยๆ.. จริงๆ แล้ว การติดอีวี กับ การติดโซล่าเซลล์ ต้องคิดระบบคืนทุนออกจากกัน อนึ่งโซล่าเซลล์เหมาะกับการลดค่าไฟที่มีการใช้สม่ำเสมอมากกว่าครับ
      3)สมัยนี้ควรทำDC ครับ เพราะว่าAC เขาชาร์จกันได้ที่บ้าน ..เวลาเร่งด่วนยังไงก็ต้องมาชาร์จDC
      4) รถคันละ 20ตร.ม. คูณ20 ก็ต้องมี 400ตร.ม. ขั้นต้น เผื่อระยะชิด เผื่อวนรถ จุดนั่งรอ ร้านค้า 2งาน ก็ดูจะเล็กๆ น้อยๆ ขั้นต้นครับ อันนั้นมุมมองส่วนตัว
      5) วางไว้สัก 10ล้านครับ มากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดหัวชาร์จ แล้วก็โครงการ
      6)โทรหาบริษัทฯ เราเลยครับ มีแนวทางที่เป็นไปได้

  2. Model 3เริ่มต้นเท่าไร เป็น โกดังให้เช่าเป็นโรงสีเก่า มีหม้อแปลงไฟ ขนาด 1,000kva อยู่แล้วครับ

    1. สำหรับ รถบ้านทั่วไป ที่ไม่ได้เป็นสถานีบริการนะครับ ..ส่วนมากจะใช้ AC normal charge ที่กำลัง ราวๆ 7KWH + – เรื่องค่าใช้จ่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

      1.ติดตั้งโดยไม่ได้ปรับปรุงระบบไฟไปมาก คือ อาจจะเดินสายจากตู้ไฟหลัก แล้วติดเครื่องชาร์ต.. ดังนั้นโดยทั่วไป ก็จะมีค่าเครื่องชาร์ตกับปรับปรุงระบบนิดหน่อย
      2.ต้องปรับปรุงระบบไฟให้เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งก็จะมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงระบบเพิ่มเข้ามา

      **สำหรับในช่วงต่อมา การติดตั้ง อาจจะมีการลดทอนมาตรฐาน ซึ่งไม่ได้ยึดมาตรฐานตามIEC เหมือนอย่างเดิม แต่ก็ยังต้องอยู่ภายใต้มาตรฐาน กฟฟ. เป็นขั้นต่ำ ซึ่งก็อาจจะเป็นไปเพื่อให้ลดต้นทุนการติดตั้งเป็นหลักครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น