ระบบลงดิน Grounding system (สายดิน) เป็นระบบที่ใช้ในการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า และ ทำให้ระบบไฟฟ้ามีความเสถียร ..ซึ่งในการติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้านั้น จะขาดเสียมิได้ มาตรฐานทางไฟฟ้า สวท. IEC จึงมีการกำหนดมาตรฐาน ไว้หลายๆ แบบ ตามลักษณะงานที่ติดตั้ง หรือ สำหรับป้องกันระบบ

รับงานติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบลงดิน
TEL-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
การติดตั้ง ระบบลงดิน หลักดิน (Ground lot) หรือ แท่งทองแดงนั้น มักจะเป็นการ ตอกลงไปในดิน จนสุดแท่ง แต่โดยทฤษฎีแล้วจะต้องตอกไปถึงชั้นดินที่มีมวลเป็นอนันต์ จะได้ค่าความต้านทานใกล้ศูนย์ ยิ่งใกล้ศูนย์มาก ก็ยิ่งจะทำให้กระแสไหลลงดินได้ดีมาก แม้ว่าจะมีการกำหนดมาตรฐานสำหรับแท่งลอต หรือ แท่งทองแดงนั้น แต่สาระสำคัญจะเป็นเรื่องของค่าความต้านทาน โดยกำหนดว่า ในงานระบบไฟฟ้ากำลัง จะต้องวัดค่าความต้านทานได้น้อยกว่า 5ohm จึงจะถือว่าใช้ได้

สำหรับ ล็อต Lod โดยทั่วไปในท้องตลาดจะมี 3แบบ อาทิ
1) แบบแท่งเหล็กทองแดงชุบ โดยแท่งกราวด์แบบนี้ จะมีข้อดีในเรื่องราค แต่เรื่องคุณภาพก็นับว่าต่ำที่สุด เนื่องจากความนำที่ต่ำกว่าทองแดงจริงๆ จึงอาจจะมีผลทำให้ต้องตอกหลักลงไปลึกกว่าแท่งในแบบอื่นๆ เพื่อให้ได้ขนาดความต้านทานเดียวกันที่ได้มาตรฐาน
2) แบบแท่งเหล็กทองแดงหุ้ม โดยแท่งกราวด์แบบนี้ จะเป็นแท่งเหล็กเหมือนกัน แต่ไม่ได้ใช้การชุบ เป็นการหุ้มด้วยแผ่นทองแดงที่มีความหนาในหลักมิลลิเมตร จึงทำให้ แท่งกราวด์แบบนี้สามารถนำไฟฟ้าได้ดี เมื่อตอกหลักลงไปแล้วสามารถทำค่าความต้านทานที่ต่ำกว่าแบบอื่นได้โดยง่าย แต่.. แท่งกราวด์ หรือ หลักดินแบบนี้ มีข้อเสียคือ ราคาจะสูงกว่าแบบอื่น
3) แท่งเหล็กแฉก ชาร์ฟ หรือ เรียกกันภาษาช่างว่า กราวด์มะเฟือง โดยกราวด์แบบนี้ จะเป็นแท่งเหล็กชุบกัลวาไนต์ เป็นแฉกแบนๆ เป็นปีกแผ่ออกไปแบบผลมะเฟือง ซึ่งเป็นแท่งกราวด์ที่ค่อนข้างมีความแน่นอนเรื่องค่ากราวด์ ถ้าตอกหลักลงมิด เนื่องจาก พื้นผิวสัมผัสระหว่างแท่งกราวด์ กับ เนื้อดิน มีพื้นที่ผิวสัมผัสเยอะกว่าแบบอื่น จึงชดเชยความนำไฟฟ้า หรือ ลดความต้านทางทางไฟฟ้าลงไปปริยาย ..แต่ก็มีข้อเสียว่า เมื่อผิวสัมผัสมาก ก็ทำให้แรงเสียดทานเมื่อตอกลงมากเหมือนกัน ทำให้ การตอกหลักมีความยากกว่าแบบอื่นๆ ..กระนั้นก็ดี ค่อนข้างใช้แพร่หลักในงานของการไฟฟ้า เนื่องจากมีราคาถูก และ มีความชัวร์เมื่อตอกมิด
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นไหนนั้นก็ใช้งานได้ดี คล้ายกัน สำหรับงานบ้าน งานอาคารทั่วไป – ส่วนใหญ่ระบบบ้านก็มักจะใช้แบบกราวด์ชุบ ส่วนดีขึ้นมาหน่อยก็จะเป็นแบบทองแดงหุ้ม – ส่วนแบบมะเฟือง ส่วนมากจะใช้กันแพร่หลายในงานของการไฟฟ้า เนื่องจากราคาถูก และ มีพื้นผิวสัมผัสที่มาก ทำให้ได้ค่าความต้านทานที่น้อย อย่างที่เกริ่นมาข้างต้น

รับงานติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบลงดิน
ช่างไฟดอทคอม, ช่างไฟฟ้า, ต่อสายดิน, ติดตั้งสายดิน
TEL-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
การติดตั้งระบบลงดินที่ดี แท่งกราวด์ ควรจะถูกตอกลงในบ่อเซอร์วิชเฉพาะ (บ่อพิธ pith) มีฝาปิด สามารถเปิดปิดได้ เพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุง และ วัดค่ากราวน์ ..นอกจากนี้ การเชื่อมต่อสายกับแท่งกราวด์ ก็ควรที่จะเป็นแคลมป์ล็อค 2เขี้ยว หรือ u-clamp หรือ ใช้แบบจุดเชื่อมหลอม exothermic welding ซึ่งมักใช้ในงานที่ต้องการมาตรฐานสูง เช่นงานอาคาร งานป้องกันฟ้าผ่า ฯลฯ



รับงานติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบลงดิน สายดิน รับเดินสายดิน ติดตั้งสายดิน
TEL-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
นอกจากนี้ ยังมีกราวด์ในอีกหลายๆ แบบ แต่มักจะเห็นในงานทั่วไปอยู่ 2แบบ คือ แบบแท่งกราวด์เดี่ยว กับ กราวด์ลูป หรือ เดลต้า

ส่วนกราวด์กริด ไม่ได้เห็นบ่อยนัก ซึ่งมักจะเป็นงานสถานีไฟฟ้าเสียเป็นส่วนใหญ่ หรือ ในงานที่ต้องการมาตรฐานความปรอดภัยสูง

รับงานติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบลงดิน ติดตั้งสายดิน ต่อสายดิน