OSHA คืออะไร?

OSHA คืออะไร?

OSHA ย่อมาจาก Occupational Safety and Health Administration หรือ มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมันเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางในประเทศสหรัฐอเมริกา จัดอยู่ในสังกัด Department of Labor ที่ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1970 

โดยมันเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการวิจัย พร้อมทั้งยังออกและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในที่ทำงานและสถานประกอบการ ภายในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจากข้อมูลของการดำเนินการตามมาตรฐาน OSHA พบว่า การเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บภายในที่ทำงานและสถานประกอบการลดลงเป็นอย่างมาก ประมาณ 14,000 คน ถูกฆ่าตายในที่ทำงาน โดยในปี ค.ศ. 1970 – 2010 พบว่า กลุ่มแรงงานนั้นมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยจำนวนของผู้เสียชีวิตในสถานที่ทำงานและสถานประกอบการนั้นลดลงไปประมาณ 4,500 ราย อีกทั้งอัตราการบาดเจ็บสาหัสของแรงงานนั้นก็ลดลงเช่นเดียวกัน โดยลดลงไปจาก 11 ต่อ 100 คน เป็น 3.5 ต่อ 100 คน

OSHA จึงเป็นมาตรฐานที่นายจ้างทุกคนจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับทั่วไป โดยข้อกำหนดดังกล่าวนั้นกำหนดให้นายจ้างจัดหาสถานที่ทำงาน ซึ่งปราศจากอันตรายโดยสถานที่ดังกล่าวจะต้องเป็นที่รู้จัก หรือ ควรจะเป็นที่รู้จัก โดยสถานที่เหล่านั้นจะไม่ต้องก่อให้เกิด หรือ อาจทำให้เสียชีวิต หรือ เป็นอันตรายต่อพนักงานอย่างร้ายแรง 

อีกทั้งนายจ้างยังต้องจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน OSHA สำหรับพนักงานและกลุ่มแรงงาน โดยถ้าหากเกิดอุบัติเหตุภายในสถานที่ทำงานหรือสถานประกอบการ นายจ้างจะต้องแจ้งให้กับทาง OSHA ทราบ ภายใน 8 ชั่วโมง ที่มีผู้เสียชีวิต หรือ มีพนักงานบาดเจ็บสาหัสตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และนายจ้างจะต้องรีบพาพนักงานหรือกลุ่มแรงงานไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยข้อบังคับที่สำคัญที่สุดตามมาตรฐาน OSHA ในส่วนของนายจ้าง ก็คือ นายจ้างจะต้องไม่เลือกปฏิบัติ หรือ ตอบโต้พนักงานที่ใช้สิทธิตามมาตรฐาน OSHA

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยต่อตัวของพนักงานและกลุ่มแรงงาน พนักงานและกลุ่มแรงงานจึงได้รับสิทธิในการรับข้อมูลต่าง ๆ ผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการป้องกันอันตราย และมาตรฐาน OSHA ที่ใช้ในสถานที่ทำงานและสถานประกอบการ โดยการอบรมนั้นจะเป็นการให้พนักงานและกลุ่มแรงงานได้ลองทดสอบผ่านการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ภายในสถานที่ทำงานและสถานประกอบการ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายภายในที่ทำงานและสถานประกอบการ 

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น