ระบบดับเพลิง มีอะไรบ้างนะ?

ระบบดับเพลิง เป็นระบบหนึ่งที่มีความสำคัญกับอาคาร บ้านเรือน และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เนื่องจากการเกิดอัคคีภัยนั้นเป็นเหตุการณ์ที่อาจที่จะเกิดขึ้นภายในสถานที่เหล่านี้ได้ทุกเมื่อ ดังนั้น การที่มีการติดตั้งระบบดับเพลิงเอาไว้ภายในสถานที่เหล่านี้ ก็จะช่วยให้เราสามารถป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ภายในสถานที่เหล่านี้ได้

โดยทั่วไประบบดับเพลิงนั้นมีหลากหลายประเภทมาก ๆ สามารถจำแนกออกมาได้ ดังนี้

  1. ระบบละอองน้ำ 

เป็นระบบดับเพลิงที่เรามักจะเห็นกันอยู่บ่อย ๆ โดยมันเป็นระบบที่ถูกพัฒนาต่อมาจากระบบดับเพลิงแบบสปริงเกอร์ โดยมันถูกพัฒนาให้มีการผลิตหยดน้ำที่มีความละเอียดมากกว่าแบบระบบสปริงเกอร์ โดยระบบละอองน้ำนี้สามารถนำไปใช้งานกับของเหลวที่มีความไวไฟ และภายในห้องที่มีการติดตั้งไฟฟ้าได้ โดยหลักการทำงานของระบบนี้ ก็คือ มันจะทำให้ละอองน้ำนั้นระเหยออกมา เพื่อทำให้เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นนั้นขาดออกซิเจน ด้วยการแทนที่ด้วยความเย็นของละอองน้ำ

  1. ระบบแก๊ส 

เป็นระบบดับเพลิงที่ถูกเก็บเอาไว้ในสถานะของเหลว โดยการกดอากาศด้วยแก๊สไนโตรเจน จึงทำให้ระบบดับเพลิงนี้เหมาะกับการนำมาใช้งานในห้องที่ใช้ในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ห้องสื่อสาร หรือ ห้องสวิตช์ เป็นต้น

  1. ระบบโฟมดับเพลิง 

เป็นระบบดับเพลิงที่เหมาะสำหรับการใช้งานในสถานที่ที่ไม่สามารถใช้น้ำหรือแก๊สในปริมาณมากได้ โดยมันจะมีหลักการทำงานที่คล้ายกับระบบดับเพลิงแบบสปริงเกอร์ แต่แทนที่มันจะปล่อยละอองน้ำออกมา ระบบนี้จะทำการปล่อยโฟมที่ผสมน้ำออกมาแทน และโฟมเหล่านี้จะกลายเป็นสารพองตัว เพื่อดับเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น

  1. ระบบดับเพลิงในครัว 

เป็นระบบดับเพลิงที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในห้องครัวโดยเฉพาะ เนื่องจากห้องครัวเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้มากที่สุด โดยภายในของระบบนี้นั้นจะมีการใช้สารเคมีชนิดเหลว ที่อยู่ในรูปแบบของละอองฝอย ที่จะช่วยในการดับเพลิงไหม้ภายในห้องครัวอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถชำระล้างสารเคมีออกไปได้อย่างรวดเร็วมากกว่าสารเคมีชนิดแห้ง 

  1. ท่อตรวจจับความร้อนด้วยลม 

เป็นระบบดับเพลิงที่เป็นตู้ที่มีวาล์วและมีท่อที่ใช้ในการตรวจจับความร้อนติดตั้งเอาไว้ โดยหลักการทำงานของระบบนี้ ก็คือ เมื่อมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นเกิดขึ้นบริเวณรอบท่อในระดับหนึ่งแล้ว ระบบจะทำการอัดแรงดันผ่านรูเล็ก ๆ ในท่อออกมาเพื่อใช้ในการดับเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น จึงทำให้ระบบดับเพลิงประเภทนี้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานกับยานพาหนะต่าง ๆ เครื่องจักรขนาดเล็ก ตู้สวิตช์ไฟฟ้า หรือ ตู้ดูดควัน เป็นต้น

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น