กำลังไฟฟ้าคืออะไร ? คำนวณอย่างไร ?

จากสถานการณ์ของโลกเราในปัจจุบัน คงทำให้ใครหลาย ๆ คนต้อง Work From Home (เวิร์ค ฟอร์ม โฮม) และเรียนออนไลน์ที่บ้านกันมากขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ทำให้เราต้องใช้เวลาอยู่ในบ้านกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ซึ่งส่งผลให้ค่าไฟในบ้านของเราเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และถึงแม้ว่าเราอยากที่จะประหยัดไฟมากแค่ไหน แต่อากาศในบ้านของเราก็ร้อนเกินกว่าที่จะไม่ใช้เครื่องปรับอากาศเลย แต่จะให้ออกไปทำงานหรือออกไปเรียนข้างนอกในตอนนี้ก็คงจะทำไม่ได้อีกเช่นกัน ดังนั้น การที่เราสามารถรู้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของเรานั้นมีการใช้ปริมาณไฟไปเท่าไหร่ ก็จะทำให้เรารู้ว่าเราควรใช้เครื่องไฟฟ้าในบ้านของเราแต่ละชิ้นในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะประหยัดไฟในบ้านมากที่สุด   

การใช้พลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านนั้นเรียกว่า “กำลังไฟฟ้า” หรือ “Electric Power” (อิเล็คทริค เพาเวอร์) คือ พลังงานของไฟฟ้าที่ถูกใช้ไปในเวลา 1 นาที ที่มีหน่วยเป็นวัตต์ (W) หรือจูล (J) ต่อวินาที หากจะให้อธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ เลยก็คือ กำลังไฟฟ้านั้นเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของเรามีการใช้พลังงานไปมากน้อยเพียงใดในแต่ละวินาที 

โดยเราสามารถสังเกตได้จากกำลังวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้น ๆ หากเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดไหนมีกำลังวัตต์น้อย ก็จะเท่ากับว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้นมีการใช้พลังงานน้อย แต่ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดไหนมีกำลังวัตต์มาก ก็หมายความว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้นมีการใช้พลังงานมาก ซึ่งส่งผลทำให้ค่าไฟในบ้านของเราเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

ซึ่งสูตรสมการที่ใช้ในการคำนวณหากำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ก็คือ 

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) = พลังงานไฟฟ้า (จูล) / เวลา (วินาที)

ตัวอย่างที่ 1 เตารีดไฟฟ้าใช้พลังงานไป 1,600 จูล ในเวลา 10 วินาที เตารีดไฟฟ้านี้ จะใช้พลังงานไฟฟ้าไปเท่าใด

วิธีทำ จากสูตร กำลังไฟฟ้า (วัตต์) = พลังงานไฟฟ้า (จูล) / เวลา (วินาที) 

แทนค่า กำลังไฟฟ้า (วัตต์) = 1600 จูล / 10 วินาที

ดังนั้น กำลังไฟฟ้าของเตารีดไฟฟ้านี้จึงเท่ากับ 160 จูล / วินาที หรือ 160 วัตต์

แต่ก่อนที่เราจะไปคำนวนหาค่าไฟฟ้าที่เราจะต้องเสียไปในแต่ละเดือนจากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านนั้น เราจะต้องรู้ก่อนว่าภายในบ้านของเรานั้นมีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้ากี่ประเภท และในแต่ละประเภทนั้นมีการใช้งานต่อเดือนเป็นเวลากี่ชั่วโมง ซึ่งเราสามารถคำนวณได้จากสูตรนี้

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า / 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

ตัวอย่างที่ 2 บ้านหนึ่งหลัง มีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่

2.1) พัดลมตั้งพื้น 1 เครื่อง ใช้กำลังไฟฟ้า 70 วัตต์ ถ้าเราเปิดใช้งานเป็นเวลา 6 ชั่วโมงต่อวัน

วิธีทำ จากสูตร กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า / 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

แทนค่า 70 วัตต์ x จำนวน 1 เครื่อง / 1000 x 6 ชั่วโมง = 0.42 หน่วย / วัน (เดือนละ 12.6 หน่วย)

2.2) หลอดไฟขนาด 35 วัตต์ จำนวน 10 ดวง ถ้าเราเปิดใช้งานวันละ 5 ชั่วโมงต่อวัน

วิธีทำ จากสูตร กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า / 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

แทนค่า 35 วัตต์ x จำนวน 10 ดวง / 1000 x 5 ชั่วโมง = 1.75 หน่วย / วัน (เดือนละ 52.5 หน่วย)

2.3) เครื่องปรับอากาศขนาด 3,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ถ้าเราเปิดใช้งานเป็นเวลา 5 ชั่วโมงต่อวัน

วิธีทำ จากสูตร กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า / 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

แทนค่า 3,000 วัตต์ x จำนวน 1 เครื่อง / 1000 x 5 ชั่วโมง = 15 หน่วย / วัน (เดือนละ 450 หน่วย)

ดังนั้น บ้านหลังนี้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 515.1 หน่วยต่อเดือน

ผู้เขียน : ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น