หม้อแปลงแห้ง

หม้อแปลงไฟฟ้าแบบแห้ง (Dry-Type Transformer) เป็นหม้อแปลงชนิดแกนและขดลวดไม่ได้แช่อยู่ในหม้อแปลงน้ำมันฉนวน 

หม้อแปลงแบบนี้ติดตั้งได้ 2 แบบ แบบติดตั้งภายในอาคาร  (Dry-type transformer installed indoor) และภายนอกอาคาร (Dry-type transformer installed outdoor) แต่จะนิยมติดตั้งภายในอาคาร ซึ่งจะใช้กันอย่างแพร่หลายใน อาคารสูง สนามบิน เป็นต้น โดยจะมีโครงสร้างหลักที่ประกอบไปด้วย ขดลวด, แกนเหล็กซิลิคอน, Connectors และอุปกรณ์อื่นๆ

หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยสูงและเหมาะสมสำหรับการติดตั้งภายในอาคาร คือหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดแห้งแบบ Dry Type Cast Resin เนื่องจากสาร Resin และส่วนผสมที่ใช้หล่อหุ้มขดลวดนั้นมีคุณสมบัติคงทนต่อไฟไหม้ได้ดี ซึ่งหม้อแปลงที่มีคุณภาพสูงจะใช้ขดลวดแรงสูง (High Voltage Winding) ใช้ตัวนำเป็นอลูมิเนียมแผ่นบางห่อหุ้มด้วยฉนวนที่ทำด้วย Resin เพื่อลดโอกาสแตกร้าว หากพันขดลวดแรงสูงโดยใช้เทคนิค knowhow เฉพาะการหล่อขดลวดจะทำให้ทนทานต่อการใช้งานและยังสามารถระบายความร้อนได้ดีอีกด้วย และขดลวดแรงต่ำ (Low Voltage Winding) การใช้ Aluminium Foil (อลูมิเนียมแผ่น) และห่อหุ้มด้วยฉนวน Resin (Class F) จะทำให้ทนทานต่อกระแสกระชาก และกระแสลัดวงจร ทั้งนี้ตัวนำที่เป็นแผ่นสามารถกระจายกระแสได้ดีกว่า (กระแสสลับจะวิ่งที่ผิวตัวนำ) และจะสามารถรักษาสมดุลของแรงอันเกิดจากขดลวดแรงสูง โดยขดลวดแรงต่ำ จะถูกเคลือบผิวด้วยการจุ่มใน Epoxy Resin ภายในภาวะสูญญากาศ ทำให้ขดลวดคงทนต่อแรงในแนวรัศมี (Radial Force) อันเกิดจากกระแสลัดวงจร

ซึ่งวิธีการทำความเย็นแบ่งออกเป็นอากาศเย็นแบบธรรมชาติ (AN) และอากาศเย็น (AF) ระบายความร้อนด้วยอากาศธรรมชาติ หม้อแปลงสามารถรับการจัดอันดับความจุในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในระยะยาว การระบายความร้อนด้วยอากาศที่เพิ่มขึ้นความจุเอาต์พุตของหม้อแปลงสามารถเพิ่มได้ถึง 50% ใช้ได้กับการทำงานเกินพิกัดหรือทำงานเกินพิกัด เนื่องจากการสูญเสียโหลดเกินและการเพิ่มแรงดันอิมพีแดนซ์ในสถานะภาพดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจไม่ควรใช้งานเป็นเวลานานในการทำงานเกินพิกัดอย่างต่อเนื่อง

ผู้เขียน : นาถชนก สารโภค

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น