สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ

     สายไฟฟ้าแรงดันต่ำเป็นสายไฟฟ้าใช้ได้กับแรงดันไม่เกิน 1000 V มีลักษณะเป็นสายไฟฟ้าหุ้มด้วยฉนวน  หรับสายไฟฟ้าชนิดนี้ อาจจะใช้ทองแดงหรืออะลูมิเนียม แต่ที่นิยมใช้สำหรับสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ คือสายทอง ไฟฟ้าขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นตัวนำตีเกลียว แต่ถ้าเป็นสายไฟฟ้าขนาดเล็ก ตัวนำก็จะเป็นตัวนำเดี่ยว วัสดุนิยมใช้กับสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ ได้แก่ Polyiny Chloride ( PVC ) และ Cross-linked Polyethylene ( XLPE )

   สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมหุ้มด้วยฉนวน PVC

        สายไฟฟ้าชนิดนี้จะมีตัวนำเป็นอะลูมิเนียมแบบตีเกลียวไม่อัดแน่นหรือแบบตีเกลียวอัดแน่น และหุ้มด้วยฉนวนโดยอาจจะเป็น PVC ธรรมดา หรือเป็นแบบ Heat Resisting PVC ก็ได้ สามารถใช้ได้กับแรงดัน ไฟฟ้าชนิดนี้จะเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 293-2541

        สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมทุ้มด้วยฉนวน PVCสามารถใช้งานในระบบจำหน่ายแรงดันต่ำ เดินภายนอกอาคาร เป็นสายประธาน ( Main )หรือสายป้อน ( Feeder โดยจะใช้เดินในอากาศเหนือพื้นดิน ทางการไฟฟ้านครหลวงและ ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ใช้สายชนิดนี้เป็นสายประธานแรงต่ำ เดินมาจากหม้อแปลงจำหน่าย

( Distribution Transformers) พาดบนลูกถั่วยตามเสาไฟฟ้าหรือใต้ชายคาบ้านหรือตึกแถว เพื่อจ่ายฟฟ้าให้กับผู้ใช้ สายชนิดนี้มีราคาถูกและรับแรงดึงได้พอควร

 สายไฟฟ้าทองแดงหุ้มด้วยฉนวน pvc

     เนื่องจากทองแดง มีคุณสมบัติข้อดีที่หนือกว่าอะลูมิเนียมหลายประการด้วยกันไม่ว่าจะเป็นโลหะที่มีความนำไฟฟ้าสูงกว่า การตัดต่อก็ทำได้ง่ายกว่า จึงนิยมใช้สายไฟฟ้าชนิดนี้กันมาก สายไฟฟ้าทองแดงหุ้มด้วยฉนวน pvc มีหลายชนิดแต่ละชนิดก็หมาะกับงานแต่ละแบบ ทำให้สามารถใช้สายไฟฟ้าชนิดนี้กับงานได้เยอะ ตั้งแต่เป็นสายเชื่อมต่อวงจรเล็กๆ จนกระทั่งเป็นสายประธานหรือสายป้อน ในที่นี้จึงจะขอกล่าวถึงสาย 11-2553 โดยจะกล่าวถึงสายไฟฟ้าที่ใช้งานในการเดินสายถาวรที่ใช้กันโดยทั่วไป

   สายไฟฟ้าทองแดงหุ้มด้วยฉนวน XLPE

เนื่องจากคุณสมบัติของฉนวน XLPE ที่สามารถทนต่อความร้อนได้สูง มีความแข็งแรง ทนต่อแรงทางกลและการกัดกล่อนทางเคมีได้ดี ในปัจจุบันจึงมีการใช้สายไฟฟ้าที่หุ้มด้วยฉนวน XLPE มากขึ้น โดยสายชนิดนี้มีซื่อเรียกว่าสาย cv หรือ cvv ซึ่งไม่อยู่ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แต่จะใช้ตามมาตรฐานอื่น เช่น EC 60502 โดยทั่วไปสายชนิดนี้จะสามารถใช้งานได้เหมือนกับสาย NYY จึงนิยมใช้เป็นสายป้อนหรือสายประธาน

     สายไฟฟ้าทนไฟ ( Fire Resistant Cable )

สายไฟฟ้าปกติทั่วไปเปลือกหรือฉนวนทำมาจากวัสดุ เช่น PVC หรือ XLPE เมื่อวัสดุเหล่านี้ถูกเพลิงไหม้ อาจทำให้เกิดตรายร้ายแรงได้ เนื่องจากวัสดุเหล่านี้สามารถติดไฟได้และจะลุกลามไปทั่วบริเวณรวมทั้งตามช่องทางเดินสายไฟ นอกจากนี้จะทำให้เกิดควันหนาแน่นและอากาศพิษกระจายไปทั่ว ทำให้คนหมดสติและเสียชีวิตในที่สุด เพื่อแกัปัญหานี้จะต้องเลือกสายไฟฟ้าที่มีสกษณะสมบัติที่สำคัญดังต่อไปนี้

   1.คุณสมบัติต้านเปลวเพลิง ( Flame Propagation or Flame Retardancy )

คุณสมบัติการหน่วงเหนี่ยวลุกลามของการลุกไหม้ของสายไฟฟ้า เมื่อเกิดไฟไหม้สายไฟฟ้าจะช่วยลดปัญหาลุกลามของไฟไปตามสายไฟฟ้า ดังนั้นบริวณที่ถูกไฟไหม้จะไม่ขยายเป็นบริเวณกว้างและเมื่อเอาแหล่งไฟออกก็จะดับเอง ( Self-extinguish ) กำหนดให้ใช้ตามมาตรฐานของ IEC 60332-1 หรือ IEC

   2.คุณสมบัติการปล่อยก๊าซกรด (Acid and Corrosive Gas Emission)

คือ คุณสมบัติซึ่งแสดงการเกิดกรดหลังจากเกิดไฟไหม้ กรดที่เกิดขึ้นจะกัดโลหะของโครงสร้างและอุปกรณ์อื่นๆ สายไฟฟ้าที่มีสาร Halogen น้อย หรือไม่มีเลยก็จะลดการเกิดกรดและก็ซพิษ กำหนดให้ใช้ตามมาตรฐานของ IEC 60754-2

    3.คุณสมบัติการปล่อยควัน ( Smoke Emission )

คือ คุณสมบัติซึ่งแสดงปริมาณควันที่เกิดจากการไหม้ของสายไฟฟ้า กำหนดให้ใช้ตามมาตรฐานของ IEC 61034-2

     4.คุณสมบัติต้านทานการติดไฟ ( Fire Resistance )

คือ คุณสมบัติที่แสดงว่า ภายใต้สถานการณ์ไฟไหม้ สายไฟฟ้ายังสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในช่วงเวลาหนึ่ง กำหนดให้ใช้ตามมาตรฐานของ BS 6387 หรือ IEC 60331

  • ตัวนำ ( Conductor ) : ทองแดง
  • เทปกันไฟ ( Fire Barrier Tape ) : Mica / Glass
  • ฉนวน ( Insulator ) : XLPE
  • เปลือกหุ้มชั้นนอก ( Outer Sheath ) :  ทำด้วยสารจำพวก Zero Halogen, Low smoke ( OHLS)

สายไฟฟ้าทนไฟ ( FRC ) ควรใช้กับระบบและวงจรไฟฟ้าที่มีความสำคัญต่อความปลอดภัย เช่น

1. ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย ( Fire Alarm System )

2. ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ ( Building Automation System )

3. ระบบไฟแสงสว่างฉุกเฉิน ( Emergency Lighting System )

4. ระบบเสียงประกาศ ( Public Address System )

5. ระบบไฟฟ้าสำรอง ( Standby Power System )

6. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network System )

7. ระบบโทรทัศน์วงจรปิด ( Closed Circuit TV System )

8. ระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน ( Lifts and Escalators System )

9. ระบบปั๊มน้ำดับเพลิงและปั๊มอัดอากาศในช่องบันไดหนีไฟ ( Fire Pumps and Pressurised Stairs )

10. ในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งต้องการให้ระบบสามารถปฏิบัติงานได้ในขณะที่เกิดไฟไหม้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น