การติดตั้งระบบกราวด์

เป็นที่รู้กันว่าระบบกราวด์หรือระบบลงดินเป็นระบบที่มีความสำคัญกับระบบไฟฟ้าและจำเป็นจะต้องมีการติดตั้งอย่างสมบูรณ์แบบและมีมาตรฐานเพื่อการทำงานของระบบลงดินอย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐานของการติดตั้งระบบลงดิน

ภายในอาคารหลังเดียวกันหรือบ้าน 1 หลัง ระบบไฟฟ้าจะมีจุดต่อลงดินได้เพียง 1 จุดไม่ควรมีจุดต่อลงดินมากกว่า 1 จุดและสายดินกับสายนิวทรัลสามารถต่อร่วมกันได้เพียงจุดเดียวคือที่จุดต่อลงดินภายในตู้หลักหรือตู้เมนห้ามต่อร่วมกันในที่อื่นๆและไม่ควรต่อโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินโดยตรงในส่วนของวงจรแสงสว่างหากมีการติดตั้งในที่สูงเกินที่ผู้คนทั่วไปจะสัมผัสได้ก็ไม่จำเป็นจะต้องมีสายดินแต่หากเป็นไฟสวนหรือเป็นไฟสระน้ำที่ผู้คนทั่วไปอาจจะได้รับอันตรายจากไฟรั่ว จำเป็นต้องมีสายดินในวงจรสายดินที่ถูกต้องตามมาตรฐานในสภาวะปกติจะต้องไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลในปัจจุบันเป็นที่รู้กันว่าสายดินจะใช้สีเขียว-เหลือง เป็นสัญลักษณ์เพื่อบ่งบอกว่าสายไหนคือสายดิน

เรามาดูการเลือกขนาดสายดินกัน

การออกแบบสายดินของตัวบริภัณฑ์ทางไฟฟ้า จะพิจารณาตามขนาดของอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินและการเลือกขนาดสายดินที่จะต่อกับหลักดิน จะพิจารณาด้วยขนาดของสายตัวนำประธาน

การต่อวงจรของระบบลงดินที่ตู้เมน

1 กรณีเมนสวิตช์ใช้เครื่องตัดวงจรกระเกินขั้วเดียว

กรณีที่ใช้ขั้วต่อสายศูนย์และขั้วต่อสายดินร่วมกัน

กรณีมีขั้วต่อสายดิน (Ground Bus)

2 เมนสวิตช์ใช้เครื่องตัดวงจรกระแสไฟเกินชนิดมี 2 ขั้ว

ตัวอย่างการต่อระบบลงดิน

ระบบไฟ 1 เฟส ระบบไฟ 3 เฟส

หลักดิน

ตามมาตรฐานหลักดินจะต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 16 มิลลิเมตรและมีความยาวไม่น้อยกว่า 2.4 เมตรในการติดตั้งควรจะตอกลงไปในแนวดิ่ง หรือเอียงได้ไม่เกิน 45 องศาและควรจะตอกลงไปในพื้นที่ชื้นๆ หรือจะขุดฝังในแนวราบแต่ต้องมีระยะฝังลึก 0.75 เมตรตามมาตรฐานดังนี้

การทดสอบหลักดิน

ในการทดสอบค่าความต้านทานของหลักดิน ต้องใช้ EarthMeter ดังภาพ

ซึ่งค่าของความต้านทานของหลักดินต้องมีค่าไม่เกิน 5 โอห์ม หากค่าที่วัดได้เกินต้องตอกหลักดินเพิ่มแล้วน าหลักดินมาต่อขนานกับหลักดินเดิมเพื่อลดค่าความต้านทาน

ผู้เขียน | ศุภชัย คงมณี

ช่างไฟดอทคอม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น